สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

พิษจากไนไตรต์ สารถนอมอาหารและกันบูด

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
หลายปีมาแล้ว โรงแรมมีชื่อแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ได้จัดอาหารเลี้ยง หลังจากที่มีผู้รับประทานอาหารดังกล่าวเข้าไปประมาณ 15 นาที เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าเป็นสีเขียวคล้ำ

ที่สำคัญผู้ป่วย 3 รายถูกนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ตรวจพบว่าในน้ำล้างกระเพาะและปัสสาวะ มีสารไนไตรต์เป็นปริมาณสูง จริง ๆ แล้วความเป็นพิษที่เกิดจากการกลืนกินสารไนไตรต์ไม่น่าจะพบได้บ่อย ปกติสารไนไตรต์หรือไนเตรต ใช้เป็นสารถนอมอาหารหรือกันบูด แต่ต้องไม่ใช้มากเกินจำเป็น

เหตุเกิดครั้งนี้เกิดจากความเข้าใจผิด เนื่องจากโซเดียมไนไตรต์ มีลักษณะคล้ายเกลือแกง หรือน้ำตาลทรายขาว จึงเกิดการหยิบผิดได้

พิษเฉียบพลันเช่นนี้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงทีอาจถึงตายได้ วิธีแก้ไขคือล้างกระเพาะ ทำให้อาเจียน หรือกลืนถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoal) เข้าไปดูดซับสารตัวนี้ไว้ ไม่ให้ซึมเข้าสู่ร่างกาย

อุบัติเหตุจากการหยิบผิดแก้ได้ด้วยการสร้างนิสัยให้วางของอย่างเป็นระเบียบในที่ของมัน ติดป้ายบอกชื่อสารและวิธีใช้ ที่สำคัญคืออ่านป้ายให้ดีก่อนนำทุกอย่างไปใช้...
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Potassium nitrite
Sodium nitrite
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

จะตรวจสอบได้อย่างไรว่ามีปริมาณไนไตรต์เท่าไหร่ในอาหาร และลิมิตไม่ให้เกินเท่าไหร่ จะหาข้อมูลจากไหนคะ

โดย:  no_no  [17 มี.ค. 2550 14:47]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ลองเข้าไปดูที่หน้านี้นะค่ะ http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/food/files/news/nitrad.htm

โดย:  วลัยพร  [30 มี.ค. 2550 18:39]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

Sodium nitrite ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย กำหนดชนิดและประเภทสารเคมีอันตราย  การสัมผัสสารเคมีดังกล่าวเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้สะสมอยู่ในร่างกายหรือไม่  และจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะร่างกายส่วนไหน หรือเป็นโรคอะไรครับ

โดย:  singto  [28 มี.ค. 2551 15:16]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น