สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

คาร์บอนไดซัลไฟด์ มหันตภัยรอบด้าน

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
“คาร์บอนไดซัลไฟด์” ชื่อนี้คนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยเรยอน แผ่นพลาสติกเชโลเฟน ผลิตภัณฑ์ยางพารา จะมีโอกาสสัมผัสคาร์บอนไดซัลไฟด์เป็น นอกจากนั้นเนื่องจากคุณสมบัติในการละลายไขมันได้ดี จึงมีการนำไปใช้ในการสกัดน้ำมัน ใช้ในการชุบโลหะ เป็นตัวล้างสนิมออกจากโลหะ ในภาคการเกษตรเคยมีการใช้เพื่อรมเมล็ดธัญพืชเพื่อกำจัดแมลง ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะเลิกใช้ไปแล้ว

ลักษณะของคาร์บอนไดซัลไฟด์ เป็นของเหลวกลิ่นหอมคล้ายคลอโรฟอร์ม ไอของมันหนักกว่าอากาศ 2 เท่า ดังนั้นในที่อากาศนิ่ง ๆ คาร์บอนไดซัลไฟด์จะลอยต่ำเรี่ย ๆ พื้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่คนจะสูดไอเข้าไป ไอระเหยของมันเมื่อพบกับอากาศจะให้ไอผสมที่ระเบิดได้ และลุกติดไฟได้อย่างรวดเร็ว จึงมีอันตรายมากเมื่อถูกความร้อน เปลวไฟ หรือประกายไฟ ความร้อนของหลอดไฟฟ้าที่เปิดอยู่ก็ทำให้ไอของมันลุกติดไฟได้ และสลายเป็นควันของซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังอย่างยิ่งคืออย่าเก็บคาร์บอนไดซัลไฟด์ไว้ใกล้กรดไนตริก เพราะก๊าซที่ผสมกับไนตริกออกไซด์ จะระเบิดอย่างรุนแรง ขนาดขวดแก้วแตกละเอียดเลยทีเดียว

ไม่ว่าจะสูดดม เข้าไป หรือซึมเข้าไปทางผิวหนัง หรือกลืนกิน ผลต่อสุขภาพที่ถูกกระทบคือระบบประสาท จะเกิดอาการตื่นเต้น มึนเมาตามด้วยอาการง่วงซึม กระสับกระส่าย ระบบหายใจล้มเหลว อาจถึงตายได้ แต่ถ้าเป็นการสัมผัสแบบระยะยาวทีละน้อย อาการพิษเรื้อรัง จะเริ่มด้วยอาการเจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ สายตาเริ่มมัว ความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยนไปคล้ายคนเป็นโรคจิต ที่เคยกล้า ๆ อาจจะกลายเป็นคนขี้อายไปก็ได้ สารนี้ระคายผิวและตาอย่างรุนแรง

คาร์บอนไดซัลไฟด์เป็นสารอันตราย จึงเป็นสารที่ถูกควบคุม และในประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม ได้กำหนดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ ตลอดระยะเวลาในการทำงานโดยเฉลี่ยห้ามเกิน 20 ส่วนในล้านส่วน ที่ใดมีการใช้สารเคมีตัวนี้ ควรดูแลความปลอดภัยของคนงานให้ดี อย่าให้มีไอระเหยในบรรยากาศของห้องทำงานเกินกำหนด...

หมายเหตุ

Carbon disulfide

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Carbon disulfide
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น