สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

น้ำยาขัดพื้นและเฟอร์นิเจอร์

ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
น้ำยาขัดพื้นและเฟอร์นิเจอร์ มักมีส่วนผสมของสารเคมีหลัก ๆ อยู่ 2-3 ชนิดคือ ไดเอธิลีนไกลคอล (Diethylene Glycol) น้ำมันปิโตรเลียม และไนโตรเบนซีน ทั้งหมดเป็นสารไวไฟและให้ไอระเหย แต่ส่วนใหญ่คือ 2 ชนิดแรก ส่วนไนโตรเบนซีนมีน้อย ไดเอธิลีนไกลคอลและนํ้ามันปิโตรเลียมทำหน้าที่เป็นตัวทำละลาย

ความเป็นพิษของทั้งสองตัวนี้ไม่รุนแรงและไม่มีพิษเฉียบพลัน นอกจากกลืนกินเข้าไป อันตรายจึงอยู่ที่ความไวไฟและไอระเหยที่อาจสูดดมเข้าไประยะยาว แต่เมื่อมันมาอยู่ในบ้านเราก็ต้องระวังเด็กกินเข้าไปเท่านั้น ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ต้องให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ล้วงคอให้อาเจียนแล้วส่งแพทย์

สำหรับไนโตรเบนซีนที่อาจเป็นส่วนผสมอยู่นั้น ด้วยตัวของมันเองจะมีพิษมากกว่า เพราะเมื่อสูดดมหรือซึมซับเข้าผิวหนังเป็นเวลานาน จะเป็นพิษต่อเม็ดเลือด อาการรุนแรงอาจถึงขั้นปวดศรีษะ ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ ความดันเลือดลดลง หายใจลำบาก เกิดอาการตัวเขียว และระบบส่วนกลางผิดปกติ เมื่อเกิดไฟไหม้ให้ใช้โฟมสำหรับดับไฟ หรือผงเคมี หรือคาร์บอนไดออกไซด์ดับไฟได้ แต่ถ้าน้ำยาปริมาณไม่มากก็ใช้น้ำได้ การถูกผิวหนังไม่มีอันตรายมากนักเพียงแต่ล้างออกทันทีด้วยน้ำมาก ๆ ที่สำคัญไม่ควรปล่อยไนโตรเบนซีนสู่สิ่งแวดล้อม

การที่เราต้องพึ่งพาน้ำยาต่างๆ ตั้งแต่น้ำยาขัดพื้นห้องน้ำทั้งกรดและด่าง แล้วยังน้ำยาขัดเฟอร์นิเจอร์อีก น่าจะหยุดคิดว่ามีความจำเป็นสักเพียงใด ลดลงได้หรือไม่ อาจหาสิ่งอื่นทดแทนก็ได้ เช่นอาจใช้น้ำมันผสมน้ำมะนาว (2:1) ขัดเฟอร์นิเจอร์แทน หรือถ้าท่อตันลองใช้วิธีทะลวงท่อหรือล้างด้วยน้ำร้อน ก่อนหันไปใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือแทนที่จะใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นกรดไฮโดรคลอลิก อาจใช้แค่น้ำผสมผงซักฟอกแล้วขัดด้วยแปรงก็ได้ หรือถ้าอย่างอ่อน ๆ ก็หันไปใช้ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) แทน ดังนั้นก่อนจะซื้อน้ำยาทำความสะอาดใด ๆ มาใช้ หยุดคิดถึงสิ่งแวดล้อมสักนิด ภัยใกล้ตัวก็อาจลดลงด้วย
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Diethylene glycol
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

น่าคิดนะคะ เราควรมองถึงผลกระทบบ้าง

โดย:  GM  [4 ม.ค. 2550 19:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

ดีค่ะอย่างน้อยก็ดีกว่าเราไม่รู้อะไรเลยในชีวิตประจำวันของเรา


โดย:  Lilly  [11 ส.ค. 2550 14:49]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

แนะนำ  เว็บไซต์  เรื่อง  สารเคมีในชีวิตประจำวัน     ที่  เนื้อหาสาระดี  รูปแบบสวยงาม  วิธีการนำเสนอน่าสนใจ  สื่อสารได้ดี  ฯลฯ        

http://www.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/room01.html        

จัดทำโดย  คณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี  คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย:  chemist  [22 ม.ค. 2552 18:10]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

ดีมากเลยค่ะเราจะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับสารในชีวิตประจำวัน

โดย:  สิริรัตน์  [16 ก.ย. 2552 20:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

น่าจะมียาวกว่านี้นะคะ

โดย:  จ๋า  [14 ส.ค. 2553 19:57]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น