สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

ไบทรอยด์ หรือ ไซฟลูทริน

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
เวลามะม่วงออกช่อ เรามักกลัวโรคราดำที่ทำให้ช่อดอกดำและไม่ติดผล โรคราดำที่ปรากฎเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผงสีดำตามหน้าใบ กิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน สามารถใช้ไบทรอยด์พ่นป้องกันและกำจัดแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่น ที่ดูดกินน้ำเลี้ยง แล้วถ่ายออกมาเป็นละอองน้ำหวานปกคลุมใบและช่อดอก เชื้อราดำจึงมาขึ้นบนน้ำหวานนั้น ในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังจะบาน การพ่นน้ำเปล่าตอนเช้าจะช่วยให้การติดผลดีขึ้น เมื่อมีการระบาดของเพลี้ยจึงใช้ไบทรอยด์พ่นประมาณ 2 ครั้งทุก 7 วัน สำหรับหนอนชอนใบในส้มเขียวหวานก็ใช้สารนี้ได้เมื่อส้มเริ่มแตกใบอ่อน การพ่นสารเมื่อส้มยังไม่แตกใบอ่อน เป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อเทียบกับสารฆ่าแมลงชนิดอื่น สารนี้มีพิษค่อนข้างน้อย เพราะโปรตีนในตับย่อยสลายได้และกำจัดออกได้เร็ว ไม่ซึมเข้ากระแสโลหิต หากได้รับสารนี้ระยะยาว ทำให้น้ำหนักลด สลายได้ง่ายในแสงแดดเมื่ออยู่ผิวดิน อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการใช้ อย่างสัมผัสโดยตรง หรือ สูดเข้าไป

หมายเหตุ

ไซฟลูทริน

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Cyfluthrin
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:2

That really cpauters the spirit of it. Thanks for posting.

โดย:  Winston  [28 ก.ย. 2555 07:55]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น