สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

ไข้ดำ – พิษสารหนู

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
เมื่อปลายปี 2530 ได้พบว่ามีผู้ป่วยเกือบ 300 รายที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาการของผู้เป็นโรคไข้ดำคือ ผิวหนังมีลักษณะสีดำคล้ำ ในระยะแรกจะมีอาการของโรคผิวหนังเป็นผื่นแดงและคัน เกิดเม็ดนูนแล้วมีอาการคล้ายโรคหิด ตกสะเก็ด ผิวหนังจะลอกและมีสีคล้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน มือเท้าชา รายที่เป็นมากจะปรากฏเซลล์ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงเรียงตัวผิดปกติ และแสดงอาการมะเร็งผิวหนังขึ้นมา ความจริงอาการของไข้ดำนี้เกิดมานานแล้ว แต่ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง จนในที่สุดพบว่าเกิดจากสารหนูหรืออาร์ซีนิก ซึ่งเป็นสารปนอยู่ในแร่ดีบุก กระจัดกระจายอยู่ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อม ทั้งในน้ำและในดิน ความจริงสารหนูเป็นสารที่มีในธรรมชาติ ทั้งที่เป็นธาตุอิสสระและเป็นสารประกอบรวมตัวกับออกซิเจน หรือกำมะถัน มักพบมากตามเหมืองดีบุก ประชาชนในอำเภอร่อนพิบูลย์ได้ขุดบ่อใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคกันทุกครัวเรือน จึงได้รับสารหนู การแก้ปัญหาที่นั่นคือ ทางการต้องเข้าไปวิเคราะห์จำแนกบ่อน้ำที่ยังใช้ได้ และทำเครื่องกรองน้ำให้ประชาชนใช้ การใช้ประโยชน์จากสารประกอบอาร์ซีนิกมีหลากหลาย เช่นใช้รักษาเนื้อไม้ ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและฆ่าวัชพืช เวลาใช้ยารักษาเนื้อไม้และยาฆ่าแมลง ควรอ่านฉลากดูว่ามีสารประกอบอาร์ซีนิกหรือไม่ การกลืนกินปริมาณมากพอมีพิษถึงตาย ทำให้ร่างกายลดการผลิตเซลล์เม็ดเลือดทั้งขาวและแดง หัวใจเต้นผิดปกติ มือเท้าชา มีหลักฐานยืนยัยว่าเป็นสารก่อมะเร็ง

หมายเหตุ

Arsenic

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Arsenic
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

น่ากลัวจัง

โดย:  ...  [5 ม.ค. 2552 18:25]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ผมก็ทำงานเกี่ยวกับแร่ที่ผสม Arsenic อยากทาบว่าการล้างสารออกจากร่างกายโดยอาหารหรือสมุนไพรไทยมีบ้างไหม แต่ในเบื้องต้นผมก็ใช้หน้ากากกันฝุ่น

โดย:  คนลงแร่  [7 มิ.ย. 2552 20:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

มีวิธีขับสารโลหะหนัก  ซึ่งสารหนูก็นับเป็นโลหะหนักชนิดหนึ่ง  เรียกว่าวิธี คีเลชั่น
ซึ่งวิธีนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศประมาณ 60 ปี และเป็นที่นิยมมากใน ยุโรป  ออสเตรเลีย    ถ้าสนใจมีบทความเกี่ยวกับเรื่องในให้หาอ่านได้ไม่ยากใน internet ค่ะ

โดย:  thanya  [22 ต.ค. 2552 09:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:16

พึ่งจะรู้

โดย:  คนดี  [2 ส.ค. 2555 12:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:17

ตรวจพบมีสารโลหะหนักเกินมาตราฐาน
หมอให้ทำคีเลชั่นประมาณ10ครั้งก็ดีขึ้น
เว้นประมาณ1ปีก็ทำคีเลชั่นอีกรอบคะ

โดย:  สุนิดา  [7 มิ.ย. 2564 01:15]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น