สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

ฉลากป้องกันอันตรายได้อย่างไร

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
ฉลากที่ติดอยู่บนขวดหรือกระป๋อง มีความหมายเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจ ให้ผู้ที่นำมาใช้เกิดความระมัดระวัง จึงมักมีสีสะดุดตา เครื่องหมายเตือนอันตรายนี้เป็นสากล ไม่ว่าชาติใดภาษาใดก็เข้าใจความหมายได้ตรงกัน เราคงจะคุ้นเคยกับเครื่องหมายหัวกะโหลกกระดูกไขว้ (รูปประกอบ 6) นั่นแหละหมายถึงอันตรายจากความเป็นพิษ ถ้ากินหรือสูดดมเข้าไป จะเป็นอันตรายถึงตายได้ ที่ฉลากนอกจากจะมีเครื่องหมายเตือนอันตรายแล้ว ยังมีคำแนะนำวิธีใช้ที่ถูกต้อง ข้อควรระวัง และอาจบอกวิธีปฏิบัติเมื่อหกรด หรือหกรั่วไหลด้วย เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์คนงานถูกรังสีจากสารโคบอลต์ 60 ที่อำเภอพระประแดง เมื่อวันที่13 กุมภาพันธ์ 2543 จนมีผู้เสียชีวิต 3 ราย อาการสาหัสอีก 1 ราย เพราะไปตัดโลหะที่ห่อหุ้มแท่งโคบอลต์ 60 โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากเขารู้จักเครื่องหมายใบพัด 3 แฉก ก็จะไม่เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้ เพราะ เครื่องหมายใบพัด 3 แฉก (รูปประกอบ 7) ก็คือเครื่องหมายเตือนอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีนั่นเอง ใครพบเห็นเครื่องหมายนี้ ต้องออกไปให้ห่างแล้วแจ้ง 199 ว่าพบสารที่สงสัยจะเป็นสารกัมมันตรังสี การจัดการ สารพวกนี้ ต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เห็นหรือยังว่า ฉลากป้องกันอันตรายได้อย่างไร

รูปประกอบ 6

รูปประกอบ 7
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ขอบคุนน่ะค่ะ

โดย:  ฝ้ายๆ  [12 ก.ค. 2552 22:15]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณมากกกกกกกนะค่ะ

โดย:  ติ๊ก  [26 ม.ค. 2553 06:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:7

This is what we need - an insight to make eevornye think

โดย:  Jodi  [28 ก.ย. 2555 11:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:8

ขอบคุณนะคะ

โดย:  คนสวยยยย  [19 พ.ค. 2564 15:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:9

ใช้ในการเรียนได้ขอบคุณมากค่ะ

โดย:  นุ่น  [23 ก.ย. 2565 15:56]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น