สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

เบนโซไพรีน (Benzopyrene) – สารก่อมะเร็ง

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
เบนโซไพรีนเกิดจากการเผาน้ำมัน มักพบในเขม่า ในน้ำมันถ่านหินและในควันบุหรี่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารนี้คือ กลุ่มที่ผลิตสารประกอบประเภทอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน กลุ่มที่ใช้ถ่านหิน ยางมะตอย ดูๆก็ไม่น่าห่วงเท่าใดนัก เพราะอุตสาหกรรมพวกนี้ในบ้านเรามีน้อย แต่ที่ใกล้ตัวที่สุดคือในควันบุหรี่ ซึ่งคนเราเข้าไปหามันเอง แทนที่จะหลีกเลี่ยง อีกแหล่งหนึ่งที่จะมีสารตัวนี้คืออาหารที่ย่างด้วยถ่าน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น มีหลักฐานยืนยันว่าเบนโซไพรีนเป็นสารก่อมะเร็งหากสูดเข้าไป หรือ สัมผัสเป็นเวลานาน ในสมัยก่อนที่ยังมีการใช้ถ่านหินในเตาผิงตามบ้านในประเทศแถบยุโรป นานๆทีเขาจะจ้างคนเข้าไปทำความสะอาดปล่องไฟ คนที่ทำอาชีพนี้จึงสัมผัสเขม่า ซึ่งมีเบนโซไพรีนเป็นเวลานาน ทำให้เป็นมะเร็งที่อัณฑะ สารตัวนี้จึงเป็นสาเหตุของมะเร็งในหมู่ผู้มีอาชีพทำความสะอาดปล่องไฟในยุคนั้น
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Benzo(a)pyrene
Benzo[e]pyrene
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

http://en.wikipedia.org/wiki/Benzopyrene        Benzopyrene    Benzo [a] pyrene        CAS No.  50-32-8

โดย:  นักเคมี  [7 มี.ค. 2552 03:26]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น