สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

สารเคมีรักษาเนื้อไม้

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
ประเทศไทยมีการปลูกต้นยางพาราเพื่อกรีดน้ำยางถึง 12.3 ล้านไร่ เมื่อต้นยางพาราอายุถึง 25-30 ปี จะเริ่มให้น้ำยางน้อย ไม่คุ้มค่าที่จะกรีดน้ำยางต่อไป แต่ไม้ยางพาราก็ยังใช้ประโยชน์ได้ จึงเกิดอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง ซึ่งมีกระบวนการต่างๆ ในการแปรรูปตั้งแต่การเลื่อย การอบ การอัดน้ำยากันมอด จนกระทั่งออกมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้สูงให้แก่ประเทศ เช่น ในปี 2542-2543 มูลค่าการส่งออกไม้ยางแปรรูปไปต่างประเทศสูงถึง กว่า 2000 ล้านบาทต่อปี จึงเกิดมีโรงงานแปรรูปมากมาย และต้องใช้น้ำยาเคมีในการอัดเนื้อไม้ชนิดต่างๆเพื่อรักษาเนื้อไม้ ที่นิยมใช้มีน้ำยาอัดเขียวเพื่อฆ่าเชื้อราและแมลง ประกอบด้วยสารประกอบของคอปเปอร์ โครเมียมและอาร์เซนิก ซึ่งมีสารยึดไม่ให้น้ำยานี้ถูกชะล้างออกมา จึงมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง เหมาะแก่การใช้งานภายนอก ข้อเสียคืออาจเกิดเป็นสีเขียวของสารโลหะหนักเหล่านี้ได้ และอาจเกิดมลภาวะ เพราะสารโลหะหนัก ถ้ามีการสะสมในร่างกาย จะมีอันตรายต่อสุขภาพ เช่น มีผลต่อระบบประสาทหรือเป็นสารก่อมะเร็ง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกว่า คือไม่มีโครเมียมและอาร์เซนิก น้ำยาอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าน้ำยาอัดขาว ประกอบด้วยสารประกอบโบรอน ได้แก่ บอแรกซ์ มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อราและแมลงต่ำกว่าชนิดแรก จึงเหมาะแก่การใช้กับเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร คนที่ทำงานอยู่ในโรงงานไม้แปรรูปจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและสูดเอาสารเหล่านี้เข้าไป

หมายเหตุ

Sodium tetraborate decahydrate

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Sodium tetraborate decahydrate
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

กำลังหาน้ำยากันมอดกันราใช้กับโรงเลื่อย (ทำพาเลท)มีที่ไหนบ้างคะ ขอที่อยู่และเบอร์โทรด่วนค่ะ

โดย:  จอย  [6 พ.ย. 2552 13:12]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น