สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

ไอโซไซยาเนต (Isocyanate)

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
ไอโซไซยาเนตเป็นชื่อของกลุ่มสารเคมี ที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน คือมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกัน และมีสมบัติคล้ายๆกัน สารประกอบกลุ่มไอโซไซยาเนตที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีหลายตัว เช่น โทลูอีน ไดไอโซไซยาเนต (TDI) เมทีลีนไดไอโซไซยาเนต (MDI) แนบทาลีน ไดไอโซไซยาเนต (NDI) และเฮกซาเมทีลีน ไดไอโซไซยาเนต (HDI) ในอุตสาหกรรมผลิตโฟม ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี สี หมึก เป็นสารปรับสภาพในยางสังเคราะห์ เป็นสีเคลือบภายนอก กันน้ำกันความร้อน เมื่อเข้าสู่ร่างกาย อาการจะเริ่มด้วยอาการร่าเริง ตื่นเต้น สับสน น้ำตาไหล แล้วจะมีอาการอ่อนเพลียตามมา เดินเซ หายใจขัดข้อง อาจหมดสติ อาการของพิษเรื้อรังคือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหัว อาเจียนเป็นเลือด ตาฝ้าฟาง อัมพาต เป็นอันตรายต่อไตและตับ นานเข้าจะมีอาการทางจิตประสาท และโรคระบบหายใจเรื้อรัง
  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
ISOCYANATES
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

พบสารตัวนี้ผสมอยู่ในกาวต่อขนตา 10% อยากทราบว่ามีผลอย่างไรกับสาวๆ ที่ต่อขนตาหรือไม่ค่ะ การเข้าสู่ทางตาในปริมาณเท่าใดถึงจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย  และมีแนวทางป้องกันอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

โดย:  ณัฐธิมา  [17 เม.ย. 2552 16:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

อยากทราบว่า สารเคมีตัวนี้ จะมีอันตรายต่อเด็กในครรภ์หรือปล่าว
ถ้ามีผลกระทบต่อเด็ก จะก่อให้เกิดอะไรกับเด็กบ้าง
แล้วมีวิธีแก้พิษ หรือ อาการเบื้องต้นหรือไม่ ช่วยตอบหน่อยค่ะ

โดย:  Jiruschaya  [30 พ.ย. 2552 20:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

อยากทราบสมบัติเด่นของกาวไอโซไซยาเนต

โดย:  ลูกตาล  [26 มิ.ย. 2553 20:09]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

สาร ISO CYANATE  กัดกร่อน ยางจำพวก thermoplastic elastomer
หรือไม่

โดย:  ประสิทธิ์  [30 มิ.ย. 2553 11:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

TDI-MDI เมื่อสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงในปริมาณต่ำผิวหนังจะเเห้งเเละเกิดคราบสีขาวที่ผิวหนัง เเต่หากสัมผัสในปริมาณสูงอาจเกิดการพุพอง-บวมเเดง ณ จุดที่สัมผัส เนื่องจาก DI นั้นมีหมู่ NCO ที่จะจับกับ OH ในความชื้นของผิวหนังหรือน้ำ ดังน้ำเมื่อ DIผสมเข้ากับน้ำหรือสารที่มีหมู่.OH มักเกิดไอระเหย ที่เป็น CO2 เเละ สารประกอบอื่นๆ ดังนั้นหากสัมผัสDIจึงควรล้างออกด้ำน้ำปริมาณมากๆเป็นเวลา10-20นาที หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบเเพทย์

โดย:  T2o Day Ago Kids...  [29 ส.ค. 2553 01:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:10

Isocyanate เป็น Resin ประเภทหนึ่งมักใช้ทำกาว หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวสรเคลือบผิวประเภท Hardener (สารเร่งแข็ง) เนื่องจากเมื่อแข็งตัวแล้วจะทำปฏิกิริยาทางเคมีเกิดเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างสามมิติ กลายสภาพเป็นของแข็งในเวลาเดียวกันกับเกิดการยึดติดกับพื้นผิวชิ้นงาน

โดย:  อนันต์ รุจนสกุล  [24 มี.ค. 2555 13:44]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:11

ไม่แน่ใจว่า เป็นสารไว้ไฟไหม  หรือก่อให้เกิดประกายไฟหรือไม่

โดย:  พงศ์ภีระ  [29 มี.ค. 2556 15:52]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:16

ไม่ไวไฟ

โดย:  MDI  [26 ส.ค. 2557 15:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:17

ถ้าใช้สาร Polymetthylene Polyphenyl isocyanate (Polymeric MDI or PMDI)
CAS No. 9016-87-9  สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจระดับสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานได้หรือไม่  ต้องตรวจวัดหาสารใด  บริษัทไหนสามารตรวจวัดได้บ้างค่ะ

โดย:  กฤษณาM  [7 ต.ค. 2557 09:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:18

อยากทราบว่ามีหน่วยงานไหนบ้างที่รับทดสอบ TDI โทลูอีนไดไอโซไซยาเนต (Toluene diisocyanate) ได้บ้างคะ

โดย:  สายน้ำ  [8 ก.ย. 2558 11:31]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:19

มีข้อสงสัยว่ามีส่วนของไซยาไนท์ที่เป็นอันตรายหรือไม่  เมื่อนำ MDI มาผลิตเป็นโฟม หรือตัวMDI เองมีผลเสียกับผู้ใช้งานในการผลิตหรือไม่อย่างไรคะ

โดย:  daisy  [5 มิ.ย. 2560 17:36]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:20

มีวิธีทำความสะอาดถังบรรจุได้อย่างไรครับ
 และถัังนำมาใส่่น้ำใช้้ได้้ไหมครัับ

โดย:  อิศร  [5 ก.พ. 2564 14:33]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:21

ไม่ทราบซื้อได้จากที่ไหนครับ ไอโซไซยาเนต ครับ อยากได้มาทำการทดสอบ

โดย:  พิเชษฐ์  [8 ก.ค. 2564 10:16]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:22

พารามิเตอร์ในการตรวจวัดอัตราการฟุ้งกระจายในบริเวณที่ทำงาน และการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี

โดย:  ประนอม พภะเวียงคำ  [15 พ.ย. 2565 11:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:23

i don't known

โดย:  น้องชาย  [9 ต.ค. 2566 20:08]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น