สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
เรียนรู้จากข่าว

รถบรรทุกสารเคมี XYLENE พลิกคว่ำ

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 14 ก.พ. 2550


วันที่ 12 ก.พ. เกิดเหตุรถบรรทุกสารไซลีนจำนวน 6,000 ลิตร มาจากบริษัท เอสพีเค เคมีคอล จำกัด พลิกคว่ำบริเวณ ถ.ตำหรุ-คลองเก้า ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทำให้สารรั่วไหลออกมาจากถังบรรทุกตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ เนื่องจากฝาถังและวาล์วชำรุด ส่งกลิ่นเหม็นทั่วบริเวณ ทำให้ต้องปิดกั้นการจราจรเป็นระยะทาง 5 ก.ม. กว่า 3 ช.ม.  ในกรณีนี้การรั่วไหลของไซลีนไม่ควรเกิดขึ้น ถ้าบริษัทใช้อุปกรณ์ที่อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี ไม่ชำรุด ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีข้อบังคับข้อปฏิบัติในการขนส่งวัตถุอันตรายตามกฎหมายอยู่แล้ว

เมื่อเกิดการรั่วไหลของไซลีนขึ้นมาแล้ว จะต้องอพยพคนออกจากบริเวณก่อน จากนั้นปิดแหล่งกำเนิดประกายไฟทุกแหล่ง  ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ เนื่องจากไซลีนเป็นสารไวไฟ อาจลุกติดไฟได้  แล้วจึงทำความสะอาดบริเวณรั่วไหลโดยคลุมด้วยปูนขาวแห้ง ทราย หรือโซดาแอช  และเก็บในภาชนะที่ปิดโดยใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟและเคลื่อนย้ายออกสู่ที่โล่ง  ระบายอากาศในบริเวณนั้น แล้วจึงล้างบริเวณที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว

ไซลีน หรือ ไซออล หรือ ไดเมทิลเบนซีน เป็นสารอะโรมาติกส์ไฮโดรคาร์บอนที่ผลิตได้จากปิโตรเลียมดิบ ไซลีนเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีจุดเดือดที่ 136 140 องศาเซลเซียส สามารถวาบไฟได้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และจะลุกติดไฟได้เองที่ 464 องศาเซลเซียส  ไซลีนถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี เช่นใช้ในสี วานิช ตัวล้างไขมัน สารทำความสะอาด แลกเกอร์ กาว และน้ำยาล้างเล็บ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวทำละลายสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วย

ไซลีนเป็นสารอินทรีย์ระเหยได้ ไวไฟ ระคายเคือง และเป็นสารพิษด้วย ข้อมูลพิษเฉียบพลันของไซลีนพบว่า ในกรณีมนุษย์การกลืนกินไซลีนที่เป็นของเหลวเข้าไปในปริมาณตั้งแต่  50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ขึ้นไปจะทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับการสูดดมพบว่า การสูดดมไซลีนที่ความเข้มข้น 10,000 พีพีเอ็ม เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ทำให้ผู้ชายเสียชีวิตได้

ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

 

http://www.purdue.edu/dp/envirosoft/housewaste/house/toluenex.htm
http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst1330-20-7.html
http://www.ilpi.com/msds/ref/ldlo.html

 


ภาพประกอบ : www.npc-se.co.th


สภาพฝาถังและวาล์วที่ชำรุดทำให้สารโซลีนรั่วไหล

เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถเครนยกเพื่อป้องกันการรั่วไหล

เจ้าหน้าที่ทำการฉีดน้ำยาโฟมเพื่อป้องกันการลุกติดไฟ
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ผมคิดว่าสาเหตุมาจากการใช้วัศดุในการประกอบแท็งค์ไม่ได้มาตรฐานหรือแบบของกรมโรงงานไม่ได้มาตราฐานจึงทำให้รถที่ใช้บรรทุกสารละลายรั่วไหลไม่เหมือนรถแท็งค์รุ่นเก่าที่ฝาปิดจะเซฟตี้กว่ารุ่นใหม่ไม่เชื่อไปแหกตาดู ท่านๆทั้งหลาย

โดย:  m-256  [30 มี.ค. 2552 22:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:5

Great post with lots of ipmtoarnt stuff.

โดย:  Allan  [26 ต.ค. 2555 20:32]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น