สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สาระเคมีภัณฑ์

ดอกไม้ไฟ

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 30 ต.ค. 2549
          หนังสือพิมพ์วันนี้ 29 ต.ค. มีข่าวโรงผลิตดอกไม้ไฟที่สุพรรณบุรีระเบิดขึ้นอีกครั้ง เหตุการณ์สถานประกอบการเกี่ยวกับดอกไม้ไฟระเบิดเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากเข้าใกล้เทศกาลลอยกระทงและฉลองปีใหม่ ซึ่งมักมีการใช้ดอกไม้ไฟในการเฉลิมฉลองตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ ทำให้มีการผลิตมากขึ้นในช่วงนี้ ในการผลิตรวมทั้งการใช้งานดอกไม้ไฟต้องใช้ความระมัดระวังสูง เนื่องจากส่วนประกอบของดอกไม้ไฟเป็นสารอันตรายจำพวกที่ระเบิดได้ นอกจากนี้ ยังมีสารเคมีอีกมากที่เกี่ยวข้องในการผลิตดอกไม้ไฟ  สารเคมีที่ใช้ การประกอบ ความเสี่ยงภัย และความปลอดภัยในการผลิตและใช้งานดอกไม้ไฟ มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
 
สารเคมีที่ใช้ในการทำดอกไม้ไฟ

          ดอกไม้ไฟมีการใช้สารเคมีซึ่งทำหน้าที่สำคัญ 6 ส่วนด้วยกันคือ

    1. เชื้อเพลิง สารที่นิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงได้แก่ ดินปืน

    2. สารออกซิไดซ์ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ สารเคมีที่ใช้จะเป็นพวกไนเตรทคลอเรต หรือ เปอร์คลอเรต เช่น แอมโมเนียม เปอร์คลอเรต (Ammonium perchlorate) แบเรียม ไนเตรท (barium nitrate) โปแตสเซียม คลอเรต (potassium chlorate) โปแตสเซียม ไนเตรท (potassium nitrate) โปแตสเซียม เปอร์คลอเรต (potassium perchlorate) และสตรอนเทียม ไนเตรท (strontium nitrate)

    3. สารรีดิวซ์ ทำหน้าที่เผาไหม้ออกซิเจนที่สารออกซิไดซ์ปลดปล่อยออกมา เพื่อให้เกิดก๊าซร้อน สารที่ใช้กันได้แก่ ซัลเฟอร์และดินปืน ซึ่งเมื่อเผาไหม้จะให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์

    4. สารควบคุมความเร็วของการเผาไหม้ โลหะบางชนิดจะถูกเติมลงไปเพื่อควบคุมความเร็วของปฏิกิริยาเผาไหม้ ความเร็วของปฏิกิริยาแปรผันตามพื้นที่ผิวของโลหะ

    5. สารที่ทำให้เกิดสี ตัวอย่างเช่น สตรอนเทียม ให้สีแดง ทองแดงให้สีน้ำเงิน แบเรียมให้สีเขียว โซเดียมให้สีเหลืองและส้ม และแคลเซียมให้สีส้ม เป็นต้น

    6. ตัวประสาน ทำหน้าที่ยึดส่วนผสมต่าง ๆ ให้เกาะติดกัน สารที่นิยมใช้ได้แก่ เด็กทริน
          นอกจากนี้ยังมีสารที่ให้คุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เช่น แมกนีเซียมซึ่งจะให้แสงสว่างจ้ามาก ๆ ใช้เพื่อเพิ่มความสว่างไสวของดอกไม้ไฟ พลวงให้แสงแวววาวระยิบระยับ สังกะสีทำให้เกิดควัน ไทเทเนียมให้ประกายสีเงิน เป็นต้น
 
การประกอบดอกไม้ไฟ

          ดอกไม้ไฟมีส่วนประกอบดังนี้ (ดูรูปที่ 1)

    1. Lift Charge เป็นส่วนที่ทำให้ดอกไม้ไฟพุ่งขึ้นจากพื้นแล้วทำให้ดินปืนเผาไหม้ในพื้นที่จำกัด ส่งผลให้เกิดการระเบิดขนาดใหญ่ เพราะมีความร้อนและก๊าซในกระบอกเพิ่มสูงมาก การระเบิดนี้สามารถทำให้ดอกไม้ไฟพุ่งขึ้นไปในอากาศได้สูงถึง 1,000 ฟุต

    2. Fuse ตัวจุดชนวน ให้ Lift Charge ทำงาน

    3. Launch Tube เป็นส่วนสำคัญของดอกไม้ไฟ ต้องทำให้ปิดสนิท ไม่ให้ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้เล็ดลอดออกมาจากกระบอกได้ ซึ่งจะทำให้ความดันในกระบอกลดต่ำลง ดอกไม้ไฟจะไม่พุ่งขึ้น

    4. ดินปืน มีส่วนผสมดังนี้ โปแตสเซียมไนเตรท 75 % คาร์บอน 15% ซัลเฟอร์ 10%

    5. Stars คือส่วนที่จะให้สี จะเป็นเม็ดสารผสมของสารให้สีกับดินปืน การจัดเรียงเม็ดสีมีผลต้อรูปร่างของดอกไม้ไฟตอนระเบิดในอากาศด้วย และสามารถทำให้ระเบิดในเวลาต่างกันได้

    6. Time Delay Fuse ระหว่างที่ดอกไม้ไฟพุ่งขึ้นไปในอากาศ การลุกไหม้จะต่อเนื่องไปยังตัวจุดระเบิดอีกตัวหนึ่งซึ่งจะทำให้เม็ดสีที่บรรจุในกระบอกระเบิดขึ้นเป็นส่วน ๆ ไป

    7. Break  เป็นส่วนสุดท้ายที่ระเบิด จะเป็นส่วนที่ระเบิดแรงที่สุด  ความแรงจะขึ้นกับความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำ
ความเสี่ยงภัยและอันตรายต่อสุขภาพจากดอกไม้ไฟ

          ผลกระทบที่อาจเกิดจากดอกไม้ไฟต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีดังนี้คือ

- อุบัติเหตุ อาจเกิดขึ้นได้ถ้ามีการเก็บรักษาไม่เหมาะสมระหว่างจำหน่ายหรือใช้งาน ในปี พ.ศ. 2549 ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม พบว่ามีเหตุระเบิดจากการผลิต เก็บและขนย้าย ดอกไม้ไฟที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 10 คน

- เสียงดังรบกวนผู้อยู่ใกล้เคียง

- มลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้สารเคมีส่วนผสม ซึ่งจะให้ของแข็งออกมา เช่นการเผาไหม้ดินปืนจะให้โปแตสเซียม คาร์บอเนต โปแตสเซียม ซัลเฟต และโปแตสเซียม ซัลไฟด์ และซัลเฟอร์ที่ไม่ได้ทำปฏิกิริยา ของแข็งที่ได้นี้จะมีสารพวกออกไซด์ของโลหะผสมอยู่ และอาจมีคลอไรด์ ผสมอยู่บ้างด้วย ของแข็งที่ได้เหล่านี้จะกลายเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ การแสดงดอกไม้ไฟขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งก่อให้เกิดฝุ่นละอองปริมาณมาก

- ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดต่อเนื่องจากการปลดปล่อยสารที่ได้จากการเผาไหม้ดอกไม้ไฟ เมื่อสารเหล่านี้ตกสะสมในดิน พืชผลต่าง ๆ หรือแหล่งน้ำ

- กากของเสีย
 
ข้อบังคับในการผลิตดอกไม้ไฟ

          การผลิต การค้า การครอบครองและการขนส่งดอกไม้ไฟและวัตถุดิบในการผลิตอยู่ภายใต้ข้อบังคับตามประกาศกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การควบคุมและการกำกับ ดูแลการผลิต การค้า การครอบครอง การขนส่งดอกไม้เพลิงและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตดอกไม้เพลิงพ.ศ. 2547 ซึ่งในส่วนของการผลิตมีข้อบังคับโดยสรุปดังนี้
 
- ลักษณะของอาคาร สถานที่หรือบริเวณที่ผลิตดอกไม้ไฟ ได้แก่ ต้องไม่ตั้งอยู่ในชุมชน กำหนดระยะห่างจากอาคารอื่น ๆ (ตารางที่ 1) และห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 20 เมตรโดยรอบ ต้องเป็นอาคารเอกเทศชั้นเดียว ต้องติดสายล่อฟ้าที่มีประสิทธิภาพ อาคารต้องสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ มั่นคง แข็งแรง ป้องกันไฟจากภายนอกลุกลามเข้าภายในได้ พื้นต้องเป็นวัสดุที่ไม่ก่อประกายไฟ ราบเรียบ ไม่ลื่น ไม่แตก ทำความสะอาดง่าย ไม่ดูดซับของเหลวหรือสารเคมี ต้องถ่ายเทอากาศได้ดี
 
ตารางที่ 1 ระยะห่างระหว่างอาคารผลิตดอกไม้ไฟกับอาคารอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดอกไม้ไฟ

น้ำหนักดอกไม้ไฟ
(กิโลกรัม)
ระยะห่างระหว่างอาคารผลิตดอกไม้ไฟชนิดพิเศษ* กับอาคารอื่น ๆ โดยไม่มีสิ่งขวางกั้น (เมตร)
ระยะห่างระหว่างอาคารผลิตดอกไม้ไฟชนิดพิเศษ* กับอาคารอื่น ๆ โดยมีสิ่งขวางกั้น    (เมตร)
ระยะห่างระหว่างอาคารผลิตดอกไม้ไฟชนิดทั่วไป** กับอาคารอื่น ๆ (เมตร)
0-45
35
17
11
45-91
42
21
11
91-136
47
23
11
136-181
52
26
11
181-227
55
28
11
227-454
ไม่อนุญาต
ไม่อนุญาต
11
454-907
ไม่อนุญาต
ไม่อนุญาต
11
907-1361
ไม่อนุญาต
ไม่อนุญาต
15
1361-1814
ไม่อนุญาต
ไม่อนุญาต
18
มากกว่า 1814
ไม่อนุญาต
ไม่อนุญาต
20

* ดอกไม้ไฟชนิดพิเศษ หมายถึง ดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ ออกแบบให้เกิดแสงหรือเสียงโดยการเผาไหม้อย่างรุนแรงหรือการระเบิด รวมทั้งประทัดที่มีส่วนผสมเป็นวัตถุระเบิดมากกว่า 130 มิลลิกรัมหรือพลุแตกอากาศที่มีส่วนผสมสารเคมีที่เผาไหม้แล้วทำให้เกิดแสงหรือเสียงเกินกว่า 40 กรัมหรือดอกไม้ไฟอื่นที่มีวัตถุระเบิดมากกว่าดอกไม้ไฟชนิดทั่วไป

** ดอกไม้ไฟชนิดทั่วไป หมายถึง ดอกไม้ไฟขนาดเล็กซึ่งจะให้แสงเมื่อเกิดการเผาไหม้หรือดอกไม้ไฟขนาดเล็กที่ก่อให้เกิดเสียง เช่น เกิดเสียงหวีด ถ้าเป็นดอกไม้ไฟที่เล่นบนพื้นดินมีส่วนผสมที่เป็นวัตถุระเบิดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ดอกไม้ไฟที่เล่นในอากาศมีส่วนผสมที่เป็นวัตถุระเบิดไม่เกิน 130 มิลลิกรัม

            -  ข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องจักรอุปกรณ์และระบบไฟฟ้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องมือต้องทนแรงระเบิด และต้องต่อสายดิน

            - ในส่วนกระบวนการผลิต กำหนดวิธีการทำงานหลัก ๆ ดังนี้ คือ ขั้นตอนหรือกรรมวิธีการผลิตต้องไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ เปลวไฟ ความร้อน การชั่งวัตถุดิบต้องใช้แผ่นกระดาษที่สะอาดรองก่อน เมื่อชั่งและเทวัตถุดิบออกแล้วให้ทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วลงในถังน้ำ ห้ามเปิดฝาภาชนะบรรจุวัตถุดิบทิ้งไว้ การผสมวัตถุดิบต้องผสมทีละครั้ง ครั้งละปริมาณน้อย ๆ การผสมต้องทำในที่อากาศระบายได้ดี ภาชนะที่ใช้ผสมต้องไม่ทำจากโลหะ ห้ามบด โม่ หรือป่นวัตถุดิบพร้อมกันในภาชนะเดียวกัน ห้ามอัด ตอก หรือกระทุ้งส่วนผสมวัตถุดิบในการผลิตดอกไม้ไฟในภาชนะรูปทรงกระบอก ห้ามเก็บวัตถุดิบไว้ในสถานที่ผลิตเด็ดขาด ต้องเก็บวัตถุดิบที่ผสมแล้วในภาชนะปิดสนิท และนำมาใช้ผลิตได้ไม่เกิน 200 กิโลกรัม ให้เก็บดอกไม้ไฟไว้ในอาคารผลิตได้ไม่เกิน 100 กิโลกรัม ต้องมีระบบกำจัดฝุ่นละอองในอาคาร ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ต้องจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงาน ชุดปฐมพยาบาล

           - 
การป้องกันการระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ กำหนดว่าผู้ผลิตต้องไม่สูบบุหรี่ในอาคารผลิต ไม่มึนเมาจากแอลกอฮอล์หรือยาที่ทำให้ง่วงนอน มีชุดปฏิบัติงานให้เปลี่ยนก่อนเข้าทำงาน และห้ามสวมชุดปฏิบัติงานออกนอกอาคารผลิต จัดสถานที่เปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างทำความสะอาดไว้เฉพาะ ทำความสะอาดอาคารสถานที่ให้ปราศจากฝุ่นและขยะ หากมีวัตถุดิบรั่วไหลต้องทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายจากบริเวณที่หกทันที ใช้ทรายดูดซับวัตถุดิบที่หกแล้วนำไปฝังกลบ ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐานจัดทำเอกสารความปลอดภัยในการทำงาน ต้องจัดหาเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ต้องจัดทำแผนฉุกเฉินกรณีเกิดเพลิงไหม้ และซ้อมแผนทุกปี

คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานดอกไม้ไฟ
 

         o อ่านวิธีการใช้อย่างระมัดระวังก่อนจุดชนวน

         o สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม โดยควรใส่กางเกงขายาว เสื้อผ้าฝ้าย แว่นป้องกันตา รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมด 

         o ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ขณะเล่นดอกไม้ไฟ

         o เก็บดอกไม้ไฟให้ห่างจากเปลวไฟ ไม่สูบบุหรี่ใกล้ ๆ

         o อย่าให้ดอกไม้ไฟเปียกน้ำ และ อย่าจุดดอกไม้ไฟที่เปียกน้ำ

         o เก็บดอกไม้ไฟในที่แห้งและเย็น ห่างจากเด็ก และระวังอย่าให้เด็กเล็กกินดอกไม้ไฟหรือเอาเข้าปาก
 
         o อย่าให้เด็กเล่นดอกไม้ไฟโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล และต้องสอนให้เด็กเข้าใจวิธีการใช้ดอกไม้ไฟอย่างดีก่อนอนุญาตให้เล่น

         o อย่าโยนดอกไม้ไฟใส่คนอื่นหรือสัตว์

         o อย่าจุดดอกไม้ไฟในที่ที่มีคนหนาแน่น

         o ใช้ที่จุดชนวนที่เหมาะสม ให้มีระยะห่างระหว่างคนจุดกับดอกไม้ไฟพอสมควร

         o ไม่นำดอกไม้ไฟที่ด้านหรือไม่ระเบิดมาเล่นอีก ดอกไม้ไฟที่ไม่ทำงานพวกนี้ต้องแช่ไว้ในถังน้ำประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนทิ้ง

         o อย่าจุดดอกไม้ไฟเมื่อมีลมพัดแรง ๆ

         o ไม่จุดดอกไม้ไฟใกล้วัตถุไวไฟ

         o เก็บดอกไม้ไฟที่ยังไม่ได้จุดในภาชนะปิดสนิทและวางไว้เหนือลมในขณะที่กำลังจุดดอกไม้ไฟ

         o ไม่แกะดอกไม้ไฟ

         o เตรียมถังน้ำไว้ใกล้ ๆ

         o เตรียมชุดปฐมพยาบาลสำหรับแผลไหม้ไฟ ถ้าเกิดเหตุเป็นแผลไหม้ไฟเหนือไหล่ขึ้นไปต้องรีบรักษาทันที

         o หลังจุดดอกไม้ไฟหมดแล้ว ต้องเก็บเศษซากดอกไม้ไฟตามพื้นให้หมด และทิ้งอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันเด็กเก็บดอกไม้ไฟที่ด้านมาเล่น

         o ไม่จุดดอกไม้ไฟที่ถืออยู่ในมือหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือถือดอกไม้ไฟที่จุดแล้ว

         o จุดดอกไม้ไฟทีละอัน อย่าจุดหลาย ๆ อันในเวลาเดียวกัน

         o อย่าจุดดอกไม้ไฟโดยวางไว้ในภาชนะที่เป็นโลหะหรือแก้ว

         o ไม่ใส่หรือพกพาดอกไม้ไฟไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง

ที่มาของข้อมูล :

http://www.usfireworks.biz/safety.htm
http://www.chemsoc.org/ExemplarChem/entries/2004/icl_Gondhia/composition.html
http://www.chemsoc.org/ExemplarChem/entries/2004/icl_Gondhia/construction.html
 

 
 
 

รูปที่ 1 ส่วนประกอบของดอกไม้ไฟ
จาก http://www.chemsoc.org/ExemplarChem/entries/2004/icl_Gondhia/construction.html
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

very good knowledge,looking forward watching yours

โดย:  rainmaker  [11 ธ.ค. 2549 19:02]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

สารเคมี่ที่ใช้ทำดอกไม้ไฟหาได้ที่ใหน  มีการอนุญาตจำหน่ายหรือไม่  ถ้าอยากทดลองทำบ้างจะหาสารเคมีได้ที่ใหน

โดย:  ผู้ใคร่รู้  [11 พ.ค. 2550 10:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:3

สารเคมีส่วนใหญ่อยู่ในความควบคุมของกรมการอุตสาหกรรมทหาร การมีไว้ในครอบครองต้องขออนุญาตก่อน สารเหล่านี้ระเบิดได้ไม่น่าจะนำมาทดลองทำด้วยตัวเอง อย่างที่ทำบั้งไฟหรือที่ทำดอกไม้ไฟ ปะทัด ก็มีข่าวระเบิดอยู่บ่อย ๆ นะ

โดย:  ภัทร  [18 พ.ค. 2550 17:42]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

ดอกไม้ไฟเป็นสิ่งที่อันตรายควรระมัดระวังหรือไม่ควรเล่นเลยสำหรับเด็ก

โดย:  D+  [7 ส.ค. 2550 11:26]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

มันสวยดีแต่อันตรายมากเลยห้ามเอามาในท้องตลาด

โดย:  ผู้ก่อการดี D+ 007  [16 ส.ค. 2550 09:05]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:9

ดอกไม้ไฟ

โดย:  fxfxffdfd  [12 ก.ย. 2550 12:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:10

อยากรู้ว่าสารที่ทำให้เกิดสีมีอะใรบ้าง แต่ละอย่างให้สีอะใร(ในการทำดอกไม้ไฟ)

โดย:  ชิตAMC  [20 ต.ค. 2550 10:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:11

สารที่ให้สีมีบางส่วนที่นี้ค่ะ http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=202

โดย:  chemtrack ทีมงาน ChemTrack  [21 ต.ค. 2550 09:48]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:16

ผมเป็นคนหนึ่งที่มีอาชีพผลิตดอกไม้ไฟ  ดังนั้นผมจึงขอแสดงความเห็นดังนี้ครับ
ความคิดเห็น
 1.  การเล่นดอกไม้ไฟทุกครั้งควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนเล่น
 2.  ใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการเล่น
 3.  ถ้าเป็นไปได้ควรมีผู้ใหญ่คอยดูแลขณะเล่นดอกไม้ไฟ
      ดีทีสุดคือ  เราควรให้มืออาชีพเขาเป็นผู้ทำจะดีที่สุด  เพราะช่างที่ผลิตดอกไม้ไฟจะทราบเทคนิคต่าง ๆ  ดี  และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูง  "ผมชอบผลิตดอกไม้ไฟมากเพราะคิดว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่เราควรอนุรักษ์ไว้ให้นานคู่กับเมืองไทยครับ"

โดย:  พิเชษฐ  คิดรอบนอก  [28 ธ.ค. 2550 10:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 10:17

นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศนิ้วขาดก็เพราะประทัดนี้แหละ

โดย:  n.m.p  [30 ธ.ค. 2550 09:24]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 11:19

การขอใบอนุญาตหรือการซื้อขายสารที่กล่าวมานี้จะต้องไปขอที่ใหนครับ ตอนนี้ผมจะเปิดบริษัท ขายสารเคมีพวกนี้ผู้รู้ตอบให้ผมด้วย

โดย:  นักธุรกิจน้อย  [8 มิ.ย. 2551 00:35]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 12:20

กรมการอุตสาหกรรมทหารค่ะ

โดย:  วลัยพร ทีมงาน ChemTrack  [8 มิ.ย. 2551 09:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 13:21

ทำไมดอกไม้ไฟถึงระเบิดออกได้เพระอะไรครับช่วยตอบหน่อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ครับ

โดย:  นาวี  [22 ส.ค. 2551 17:06]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 14:22

http://en.wikipedia.org/wiki/Fireworks        ( Fireworks  ;  ดอกไม้ไฟ )        
http://en.wikipedia.org/wiki/Pyrotechnics        ( Pyrotechnics )

โดย:  นักเคมี  [24 ส.ค. 2551 01:19]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 15:33

พลุสวยเเต่อันตรายเน๊อ


โดย:  นก  [3 พ.ค. 2552 00:55]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 16:34

ทำไมดอกไม้ไฟจึงให้สีครับ

โดย:  oนวัช  [9 มิ.ย. 2552 19:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 17:35

ดอกไม้ไฟสวยมาก อยากให้มีดอกไม้ไฟตลอดๆ

โดย:  ด.ช.วิทยา ทนงค์  [15 มิ.ย. 2552 15:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 18:36

อันตรายเหมือนกันนะครับ

โดย:  ต้อมแลน  [10 ส.ค. 2552 12:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 19:37

มันเป็นความรู้อย่างหนึ่ง

โดย:  บาส  [10 ก.ย. 2552 15:03]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 20:38

อยากรู้วิธีการประกอบแต่ละอย่างอย่างชัดเจนที่สุดและวิธีการทำให้พลูเป็นตัวอักษร

โดย:  ต๊อบ  [18 ม.ค. 2553 11:11]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 21:39

อยากรู้ว่าสายชนวนนั่นใช้อะไรทำแล้วท่ากระดาษได้หรือป่าว

โดย:  ต๊อบ  [18 ม.ค. 2553 11:14]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 22:40

การจุดดอกไม้ไฟก็สวยดีหรอกแต่ทำให้โลกร้อนขึ้นมาก คิดง่ายๆตอนปีใหม่สมมติว่าจุดกันจังหวัดละ1000ดอก 76 จว.ก็76000แล้ว แต่จริงๆมากกว่านั้นอีกแล้วทั่วโลกล่ะ  เห็นรณรงค์ลดโลกร้อน  พอมีเทศกาลกลับเห็นความสวยงามบนท้องฟ้าจนลืมเรืองโลกร้อนไปหมด
อยากรู้จัง พลุ 1ดอกระเบิดแล้วใช้ออกซิเจนเท่าไร ปล่อยคาร์บอนเท่าไร ใช้ต้นไม้กี่ต้นผลิตออกซิเจนทดแทนที่พลุใช้ไป

โดย:  RK  [1 ก.พ. 2553 17:04]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 23:46

ควรบอกอันตรายดีนปืนมากกว่านี้

โดย:  นักเรียน  [18 พ.ย. 2553 10:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 24:49

อยากทราบว่า การขอใบอนุญาตจำหน่ายดอกไม้ไฟ  จะขอได้จากหน่วยงานใด

โดย:  อบต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม  [26 ก.ย. 2554 10:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 25:54

One or two to rmemeber, that is.

โดย:  Mimi  [27 ต.ค. 2555 05:45]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 26:57

มีการตรวจยึดสารเคมีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เมื่อเร็วนี้ ผมกำลังทำรายงานให้นายทราบ ทราบว่านำมาประกอบระเบิดได้ แต่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่านำไปทำอะไรได้อีกเกี่ยวกับวัตถุระเบิดแรงสูง และแรงต่ำ แต่ละตัวทำหน้าที่ให้อะไรเมื่อผสมกับวัตถุระเบิด สารที่ตรวจยึดได้ดังนี้ โซเดียมคาร์บอเนต (Sodium carbonate) ไตรโซเดียม ฟอสเฟต (Trisodium phosphate) แมงกานีสออกไซด์ (Manganese oxide)ขอบคุณล่วงหน้านะครับ รอตอบด่วนนะครับ


โดย:  ผู้ปฏิบัติหน้าที่ จชต.  [13 มิ.ย. 2556 15:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 27:58

จากข้อคิดเห็นที่๒๗  วัตถุระเบิดแรงสูง ที่ ผกร.ใช้ คือ แอมโมเนียมไนเตรท แรงต่ำ เป็นพวกดินดำ ดินเทา ครับ

โดย:  ผู้ปฏิบัติหน้าที่ จชต.  [13 มิ.ย. 2556 15:32]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 28:59

พอจะมีใครรู้จักแหล่งผลิตดอกไม้ไฟชนิดทั่วไปบ้างครับ(ควันสี) ต้องการจะสั่งผลิตในนามผู้ซื้อและจำหน่ายครับ

โดย:  ทรงวุฒิ  [13 ก.ย. 2556 09:53]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 29:60

อยากรู้รายละเอียดเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเล่นประทัดมากกว่านี้สามารถค้นควัาได้ที่ไหน ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

โดย:  นานา  [8 ม.ค. 2557 06:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 30:69

ไม่ควรให้เด็กเล่น

โดย:  ดอกไม้  [28 ก.พ. 2562 11:37]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 31:70

 อยากได้ความรู้เคมีสีเผาพลอย

โดย:  0957187297  [21 ส.ค. 2565 08:00]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 32:71

 อยากได้ความรู้เคมีสีเผาพลอย

โดย:  0957187297สารทีใช่เผาพลอยสีแดง.สูตรเคมีทำเกิดสีแดง  [21 ส.ค. 2565 08:18]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น