สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

อนุสัญญาสต๊อกโฮล์มกำลังพิจารณาเพิ่มสารอีก 10 ชนิด

ผู้เขียน: วลัยพร มุขสุวรรณ
หน่วยงาน: หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย
วันที่: 21 ส.ค. 2550


คณะกรรมการทบทวนสารมลพิษตกค้างยาวนาน (The Persistent Organic Pollutants Review Committee (POPRC) ของ อนุสัญญาสต๊อกโฮล์ม กำลังพิจารณาสารเคมีที่มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับสารมลพิษตกค้างยาวนาน 10 ชนิด เพื่อเพิ่มเข้าในรายการสารมลพิษตกค้างยาวนานที่ต้องควบคุมภายใต้อนุสัญญาสต๊อกโฮล์ม ซึ่งเมื่อเริ่มต้นได้ประกาศไว้ 12 ชนิด ผลของการพิจารณาจะนำเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจของภาคีในการประชุมภาคีครั้งที่ 4 หรือ COP 4 ในราวเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2009

สารที่ได้รับการเสนอให้จัดเป็นสารมลพิษตกค้างยาวนาน 10 ตัว ได้แก่


สารเคมี

ชื่อย่อ

สมาชิกที่เสนอชี่อ

การใช้ประโยชน์

Alpha hexachlorocyclohexane

Alpha HCH

Mexico

เป็นของเสีย

Beta hexachlorocyclohexane

Beta HCH

Mexico

เป็นของเสีย

Chlordecone

 

European Union

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

Hexabromobiphenyl

HBB

European Union

เป็นสารหน่วงไฟที่ใช้ในพลาสติกกลุ่มอะคริโลไนทริล-บิวทาไดอีน-สไตรีน (ABS) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

Lindane

 

Mexico

สารกำจัดแมลง

Octabromodiphenyl ether

OctaBDE

European Union

สารหน่วงไฟ และใช้ในการผลิตไนล่อน LDPE โพลีคาร์บอเนต เป็นต้น

Pentabromodiphenyl ether

PentaBDE

Norway

ใช้ในการผลิตโฟมโพลียูรีเทนสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ และเป็นวัสดุบุเก้าอี้ ที่นั่งในรถยนต์ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

Pentachlorobenzene

PeCB

European Union

ไม่มีการใช้ประโยชน์โดยตรงในปัจจุบัน แต่พบในการใช้ PCBs สารหน่วงไฟ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

Perfluorooctane sulfonate

PFOS

Sweden

โฟมดับเพลิง พรม เครื่องหนัง เส้นใยสังเคราะห์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ เคลือบผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายภาพ เป็นต้น

Short-chained chlorinated parrafins

SCCPs

European Union

ใช้ในงานโลหะ เป็นสารหน่วงไฟหรือพลาสติกไซเซอร์ในพีวีซี ใช้ในการผลิตสี  กาว สารยึดเกาะต่างๆ

  

                สารที่กำลังถูกพิจารณา 10 ชนิดข้างต้นมีสารที่ประเทศไทยได้ประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งหมายถึงห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ได้แก่ hexachlorocyclohexane, Chlordecone  เฉพาะที่ดูแลโดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  และ Lindane เฉพาะที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ


ที่มาhttp://www.oztoxics.org/poprc/candidate%20pops_1.html
สถิตินำเข้าสารมลพิษตกค้างยาวนาน ปี พ.ศ. 2545 - 2549 สามารถดูได้ที่ [รายละเอียด]

ภาพประกอบจาก : http://seagrant.uaf.edu/nosb/papers/2004/steller-pops.html

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
alpha-BHC
beta, BHC
Decabromodiphenyl ether
Hexabromobiphenyl
Kepone
Lindane
Octabromodiphenyl Ether
Pentachlorobenzene
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

L130MH Strange but true. Your resource is expensive. At least it could be sold for good money on its auction!...

โดย:  Cheap oem software  [28 ก.ย. 2554 06:17]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

fXJvUF I am getting married on the 15th of November. Congratulate me! Then will be here rarely!...

โดย:  OEM software download  [29 ก.ย. 2554 05:50]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

tqlfso Hi my friend! I wish to say that this post is amazing, great written and include approximately all significant infos. I'd like to look more posts like this .

โดย:  matt daemon  [7 มี.ค. 2558 13:45]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น