สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ปัญหาพลังงานจากขยะยังต้องรอความชัดเจนจากภาครัฐ

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันที่: 21 เม.ย. 2551

            ข่าวเพลิงไหม้บ่อฝังกลบขยะในท้องที่แพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย สาเหตุของเพลิงไหม้ในเบื้องต้นคาดว่า บ่อฝังกลบอาจไม่ถูกหลักสุขาภิบาลขาดระบบนำก๊าซมีเทนไปใช้ผลิตพลังงาน ในประเทศไทยมีบ่อฝังกลบขนาดเล็กและขนาดใหญ่รวมกันประมาณ 130 แห่งทั่วประเทศ เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ใช่บ่อฝังกลบถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) ในจำนวนนี้อาจจะมีอีกหลายบ่อฝังกลบที่กำลังจะเกิดเหตุเหมือนที่ อ.แพรกษา

            จากข้อมูล กรมควบคุมมลพิษ ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะจากชุมชนไม่รวมอุตสาหกรรม วันละประมาณ 38,221 ตัน (2548) หากนำมากำจัดโดยการผลิตพลังงานจะได้กระแสไฟฟ้าประมาณ 200 เมกะวัตต์ต่อวันขึ้นอยู่กับการจัดเก็บ นอกจากนี้ในบ่อฝังกลบที่หมดสภาพแล้ว หากมีการฟื้นฟู (Rehabitation) จะได้พลาสติกมารีไซเคิลเป็นน้ำมันอีกจำนวนมหาศาล (พลาสติก 1 ตันได้น้ำมัน ประมาณ 500 ลิตร จากกระบวนการไพโรไลซิส)

            คราวนี้ลองฟังความเห็นจากภาคเอกชนบ้าง กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้สรุปปัญหา และอุปสรรคที่ธุรกิจการจัดการขยะในประเทศไทยยังไปไม่ถึงฝั่งไว้ดังนี้

            1. ภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนว่าองค์กรใดรับผิดชอบด้านการจัดการขยะโดยตรง เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น

            2. การลงทุนในโครงการใหญ่ๆ ที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาท ยังติดปัญหาเรื่องกฎหมายร่วมลงทุน

            3. ยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมทุนกับเอกชนในการบริหารจัดการขยะ

            4. มาตรการสนับสนุนราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder Cost) จากขยะโดยให้ส่วนเพิ่ม 2.50 บาท/kwh เป็นเวลา 7 ปี ของกระทรวงพลังงาน ยังไม่จูงใจนักลงทุน ควรจะเพิ่มเป็น 3.50 บาท/ kwh เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี

            นอกจากนี้ทางด้านการเมืองท้องถิ่นและ NGO ก็เป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม


ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 21 เมษายน 2551

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Methane
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น