สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ตรวจพบครีมบำรุงผิวขาวจากจีนมีสารปนเปื้อน

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
วันที่: 26 พ.ย. 2550

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนได้ร้องเรียนว่า ครีมบำรุงผิวหน้ายี่ห้อหนึ่ง (บาชิ) ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งมีการสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต และเป็นที่นิยมมากในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากเมื่อใช้ครีมบำรุงผิวหน้าดังกล่าว ทำให้ใบหน้าขาวใสทันที ซึ่งผลการตรวจสอบด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น พบว่า มีการปนเปื้อนกรดวิตามินเอ ในครีมสำหรับกลางวันและพบสารปรอทในครีมสำหรับกลางคืน ซึ่งเป็นสารต้องห้าม โดยสารปรอท เมื่อได้รับสะสมจะมีผลเสียต่อไต ส่วนกรดวิตามินซี ทำให้เกิดผืนคัน ภูมิแพ้ หากใช้ในหญิงมีครรภ์อาจมีผลกระทบต่อเด็ก ทำให้แท้งบุตร หรือ พิการ
       
            ภก.วัฒนา อัครเอกฒาลิน ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางละวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบผลการตรวจอย่างเป็นทางการ แม้ผลเบื้องต้นจะพบว่า มีสารปนเปื้อน แต่ อย.จะต้องนำครีมดังกล่าวส่งให้กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบซ้ำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและเกิดความแม่นยำ เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการมีข้อโต้แย้ง ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้อง พร้อมกับนำเข้าคณะกรรมการเครื่องสำอางพิจารณาซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง จากนั้นจึงจะสามารถประกาศชื่อผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการเพื่อให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้เครื่องสำอาง
       
            "อย. ตรวจเฝ้าระวังการใช้สารอันตราย หรือสารห้ามใช้ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งในกรณีเครื่องสำอางตรวจเบื้องต้นพบสารปนเปื้อนจริง ก็จะต้องมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปสืบต้นตอที่มาของเครื่องสำอางดังกล่าว ว่า ผลิตมาจากที่ใด ในประเทศ หรือต่างประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก จึงได้ประสานกับตำรวจเศรษฐกิจ หากมีเบาะแสก็จะดำเนินการทันที" ภก.วัฒนา กล่าว
       
            ภก.วัฒนา กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ยังไม่สามารถประกาศเอาผิดกับเครื่องสำอางได้ ก็มีความเป็นห่วงผู้บริโภคเกรงจะได้รับผลกระทบจากเครื่องสำอาง จึงขอเตือนประชาชนที่จะสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ให้ตรวจดูสินค้าให้รอบคอบ เช่น จะต้องมีฉลากภาษาไทยกำกับ มีชื่อผู้ผลิต ที่อยู่ถูกต้อง เนื่องจากการใช้เครื่องสำอางที่ไม่มีที่มาที่ไป หากเกิดปัญหาขึ้นจะลำบากในการติดตามผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย นอกจากนี้ เครื่องสำอางที่ไม่ใช่เครื่องสำอางควบคุมพิเศษที่มีสารต้องห้าม จะต้องควบคุมปริมาณการใช้ เช่น น้ำยาฟอกสีผม จะต้องนำมาขึ้นทะเบียนกับอย. ขณะเดียวกันหากเป็นเครื่องสำอางชนิดประทินผิว ที่ไม่ต้องนำมาขึ้นทะเบียน หากยังมีเลขทะเบียนถือเป็นเหตุที่น่าสงสัย แนะนำให้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งมายัง อย. เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยก่อนนำไปใช้

ที่มาของข้อมูล
: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน 2550

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Mercury
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น