สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สธ. เผยผลตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร พบผักชีมีสารฆ่าแมลงเพียบ

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
วันที่: 28 ธ.ค. 2551

            กระทรวงสาธารณสุขเผยผลการตรวจสอบสารปนเปื้อน 6 ชนิดในอาหารสด รอบ 9 เดือน พบร้อยละ 99 ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบไร้สารปนเปื้อน ส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตรวจพบสารฆ่าแมลง ซึ่งพบในผักชีมากที่สุด
       
            นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องจากร้านอาหารมีจำนวนมาก และขณะนี้ตามชนบทมักนิยมจัดตลาดนัด มีสินค้าต่างๆ จำนวนมากราคาค่อนข้างต่ำ บางครั้งมองตาเปล่าไม่รู้ว่าอาหารมีความปลอดภัยหรือไม่ เพื่อร่วมกันรณรงค์คุ้มครองประชาชนให้ได้บริโภคอาหารปลอดภัยและมีสุขภาพดี กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำ โครงการรณรงค์ทำดีเพื่อแม่ อาหารปลอดภัย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยเรื่องความปลอดภัยอาหาร
       
            ทั้งยังทรงปฏิบัติพระองค์เป็นตัวอย่างในการเสวย โดยจัดทำไปรษณียบัตร 1 ล้านฉบับ ส่งไปยังที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง ให้ผู้ประกอบการอาหารและประชาชน ร่วมเขียนบันทึกกิจกรรมการทำความดี แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพและความปลอดภัยผู้บริโภคในไปรษณียบัตร และส่งกลับไปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา หลังจากนั้นจะรวบรวมรายชื่อ พร้อมผลการดำเนินงานเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จแม่แห่งแผ่นดิน ในวันที่ 12 สิงหาคม 2552
       
            ด้านนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงผลการตรวจสอบสารปนเปื้อนอันตราย 6 ชนิดในอาหารสด ได้แก่ สารเร่งเนื้อแดง บอแรกซ์ สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน สารกันรา และสารฆ่าแมลง โดยหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุข ทำการตรวจตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 จนถึงเดือนมิถุนายน 2551 ได้ตรวจตัวอย่างทั้งหมด 56,425 ตัวอย่าง พบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 99.25 ไม่ผ่านเกณฑ์ 421 ตัวอย่าง โดยตรวจพบสารฆ่าแมลง 352 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นผักสด พบมากที่สุดในผักชี จำนวน 47 ตัวอย่าง รองลงมาคือพริกชี้ฟ้าแดง 24 ตัวอย่าง พริกเหลือง 16 ตัวอย่าง พริกขี้หนูแดงใหญ่ 13 ตัวอย่างและยังตรวจพบในกุ้งแห้ง หมึกกะตอย ปลาอินทรีย์เค็ม ปลาแดดเดียวเช่น ปลาสลิด ปลาสละ ปลานิล อย่างละ 1-2 ตัวอย่าง
       
            นอกจากนี้ยังตรวจพบสารบอแรกซ์ 56 ตัวอย่าง พบมากที่สุดในเนื้อหมู 10 ตัวอย่าง เนื้อหมูบด 6 ตัวอย่าง ที่เหลือพบในเนื้อปูแกะ ปลาดุกย่าง ขนมถ้วยแคระ ตรวจพบฟอร์มาลีน 8 ตัวอย่างในหมึกแช่ด่าง ปลาหมึกกล้วย ขิงอ่อนซอย ส่วนสารเร่งเนื้อแดงพบ 4 ตัวอย่างในเนื้อหมูทั้งหมด และสารกันรา 1 ตัวอย่าง พบในพริกแกงเขียวหวาน ทั้งนี้ได้มอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดการแก้ไขถึงแหล่งผลิตแล้ว

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ประจำวันที่ 28 ธันวาคม 2551

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Formaldehyde
Sodium tetraborate decahydrate
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - กรมปศุสัตว์เผยยังมีผู้ลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในสุกร
บอกข่าวเล่าความ - เจอสารก่อมะเร็งตับในถั่วลิสงและพริกป่น
บอกข่าวเล่าความ - อียูตรวจพบอาหารไทยปนเปื้อนเพียบ
บอกข่าวเล่าความ - ไต้หวันตรวจพบสารปราบศัตรูพืชในมะพร้าวนำเข้าจากไทย
บอกข่าวเล่าความ - EU ตรวจพบอาหารไทยปนเปื้อนรวม 35 รายการ
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

สุดยอด

โดย:  แบม  [15 ก.ค. 2552 09:30]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:2

ขอบคุณครับมีงานส่งครูแล้ว

โดย:  555  [2 ก.ย. 2553 17:34]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:4

สาระน่ารู้ดีมากเลย    คุณความคิดที่3พูดจาหยาบคาย สาระน่ารู้ที่ควรจำนะ

โดย:  ......  [23 ม.ค. 2554 21:20]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:5

อยากทราบว่าถ้าเราจะตรวจสารปนเปื้อนในอาหารเราต้องเว้นระยะเวลาในการตรวจครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ห่างกันนานเท่าไรค่ะ

โดย:  เด็กอยากรู้  [2 ก.พ. 2554 11:01]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 5:6

ขอบคุณครับมีงานส่งครูแล้ว



โดย:  เด็กเพชรบุรี  [13 ก.ค. 2554 18:59]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 6:7

ขอบคุณมากๆค่ะ ^^

โดย:  ^^  [14 ส.ค. 2554 22:13]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 7:8

ขอบคุณคะมีงานส่งครูแล้วจ้า

โดย:  อุ๋งอิ๋ง  [9 ธ.ค. 2554 10:08]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 8:9

I like to party, not look articles up oninle. You made it happen.

โดย:  Rene  [1 มี.ค. 2555 12:57]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 9:12

ไม่โดนตี

โดย:  บิ๊ก203  [19 มิ.ย. 2555 17:12]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น