สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

กรีนพีซจี้ผู้นำอาเซียนเข้าร่วมประชุมโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน

ผู้เขียน: กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย
วันที่: 23 มิ.ย. 2552

            กรีนพีซจัดบรรยายสรุป วิสัยทัศน์ของกรีนพีซ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนธันวาคมนี้ และร่วมเจรจาข้อตกลงด้านการปกป้องสภาพภูมิอากาศ ก่อนที่จะสายเกินไป

            วิสัยทัศน์ของกรีนพีซ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้อธิบายถึงสาเหตุผลกระทบในปัจจุบัน และความเสี่ยงในอนาคต ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และระบุถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จำเป็นในการหลีกเลี่ยงผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน นอกจากนี้ วิสัยทัศน์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังได้เน้นย้ำว่าทางออกของปัญหาสภาพภูมิอากาศทั้งหมด ควรเป็นสากล มีความยุติธรรม และได้รับความเคารพด้วยการบรรจุในข้อตกลงระดับโลก

            การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานใดเพิ่มเติมเพื่อเตือนภัยถึงผลกระทบอันร้ายแรงจากการนิ่งเฉยทางการเมือง หากยังคงขาดการร่วมพลังกันลงมือทำของผู้นำอาเซียน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดได้ว่าอ่อนไหวที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีการเตรียมการรับมือกับผลกระทบของมหันตภัยดังกล่าวน้อยที่สุด นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ ประจำประเทศไทย กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

            กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลแต่ละประเทศให้ใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดจากศักยภาพที่มีมากด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน โดยการลงทุนและใช้งานเทคโนโลยีที่เป็นทางออกของปัญหาอย่างเต็มที่ รวมทั้งดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำรงชีวิต และการบริโภค

            ในขณะที่การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการเงินจากประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิ่งที่สำคัญเท่าๆ กัน คือ การรับประกันว่าการให้ความช่วยเหลือด้านมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว จะไปถึงกลุ่มคนยากจน โดยการพัฒนากลไกการให้เงินทุน ภายใต้กรอบภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) นายธารา บัวคำศรี กล่าวเสริม

            ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขยายขอบเขต เพิ่มระดับ และสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่การลงมือปฏิบัติทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องลดการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่คาดการณ์ไว้ คือ 15-30 เปอร์เซ็นต์ ภายในพ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดเจนว่าการปฏิบัติเช่นนี้ ที่ทำควบคู่ไปกับการหยุดการทำลายป่า และการปรับตัวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งควรได้รับเงินสนับสนุนในภูมิภาค 4,800 พันล้านบาท (140 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 110 พันล้านยูโร) ต่อปี

            ที่นี่คือโลกและอนาคตของพวกเรา และผู้นำของเราปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของเรา ดังนั้น เราจึงควรบอกความคิดของเราให้พวกเขารับรู้ และผู้นำเหล่านี้ ควรได้รับการพิจารณาจากความสามารถของพวกเขาว่าสามารถรับมือกับภัยคุกคามด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้หรือไม่ นายธารา บัวคำศรี กล่าวสรุป

            นอกจากนี้ กรีนพีซยังร้องขอสาธารณชนให้ร่วมเรียกร้องอย่างจริงจังที่สุดสำหรับการลงมือปฏิบัติ และเรียกร้องให้ผู้นำประเทศของตนตกลงเข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โคเปนเฮเกน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะได้ข้อตกลงที่ปกป้องสภาพภูมิอากาศ

ที่มาของข้อมูล : กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย www.greenpeace.org

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - จี 8 ประกาศร่วมมือกับชาติกำลังพัฒนาสู้โลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - กรีนพีซเรียกร้องให้ผู้นำจีนช่วยสู้โลกร้อน
บอกข่าวเล่าความ - การเจรจาจัดทำกติกาโลกฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

Geez, that's unebliveable. Kudos and such.

โดย:  Milista  [19 พ.ค. 2555 13:35]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น