สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

รายงานความเคลื่อนไหวกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมสหภาพยุโรป ส.ค.2552

ผู้เขียน: คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป
วันที่: 31 ส.ค. 2552

            สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป ขอสรุปผลรายงานความเคลื่อนไหวนโยบายและกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปที่มีผลกระทบต่อไทย ฉบับเดือน สิงหาคม 2552 จากโครงการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและศึกษากฎระเบียบสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปที่มีผลกระทบต่อไทย

ข้อที่ 

ความเคลื่อนไหวนโยบาย / กฎระเบียบสหภาพยุโรป 

ประเด็นที่น่าติดตาม

ข้อแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษา 

1.

ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซ CO2 (EU ETS) ระบบ EU ETS

- นรม. อังกฤษเสนอว่าการจัดทำตลาดคาร์บอนเครดิตระดับโลกจะมีส่วนสำคัญในการกระดมทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยควรมีงบประมาณในด้านนี้ประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2020

- องค์กร NGO ในยุโรปเสนอให้สหภาพยุโรปเพิ่มความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือน CO2 เพิ่มขึ้นโดยตั้งเป้าหมายให้ลดการปล่อยก๊าซ 30% จากระดับของปี 2005 ภายในช่วงปี 2013-2020 และเพิ่มเป้าหมายเป็น 40% หากสามารถมีข้อตกลงเพื่อจัดทำ Post-Kyoto Protocol ที่โคเปนเฮเกน

การใช้ระบบ EU ETS กับสายการบิน

- ข้อมูลจาก Point Carbon คาดว่าสายการบินที่ต้องอยู่ภายใต้ระบบ EU ETS ภายในปี 2012 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1.1 พันล้านยูโรต่อปี ในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งส่วนหนึ่งอาจซื้อจากโครงการ CDM และ JI ได้ (แต่ในระดับไม่เกิน 15%)

- คณะกรรมาธิการยุโรปเลื่อนการประกาศข้อมูลการปล่อยก๊าซของเครื่องบิน.ในช่วงปี 2004-2006 ที่จะใช้สำหรับการกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซของสาขาการบินออกไปจากที่กำหนดไว้เดิมวันที่ 2 ส.ค. 2009 โดยคาดว่าจะประกาศพร้อมเพดานการปล่อยก๊าซสำหรับสาขาอื่นๆ ในระบบ EU ETS ภายในช่วงปลายปี 2009

- การประชุม EU Summit ในวันที่ 29-30 ต.ค. 52 ซึ่งจะมีการหารือเรื่องภาษีสิ่งแวดล้อมและท่าทีของอียูในการเจรจาความตกลงสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่โคเปนเฮเกน

- ควรติดตามพัฒนาการในเรื่องการจัดตั้งระบบ Emission Trading Scheme ในระดับโลก โดยเฉพาะแนวคิดที่จะรวมการขนส่งทางอากาศและการเดินเรือไว้ในระบบ ETS ระดับโลก

2.

ระเบียบการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการจำกัดการใช้สารเคมี (REACH)

- คณะกรรมาธิการยุโรปรับรองข้อบังคับสำหรับการทบทวนกฎเกณฑ์วิธีการทดสอบสารเคมี โดยเสนอแนวทางการทดสอบสารเคมีแบบใหม่ 4 วิธี รวมถึงวิธีที่เรียกว่า “in vitro” ซึ่งจะลดการทดลองในสัตว์

 

 

- การจดทะเบียนสารเคมีสำหรับสารเคมีที่ส่งออกปริมาณมากและมีความเป็นอันตรายสูงต้องได้รับการจดทะเบียนภายในสิ้นเดือน พ.ย. 2010 ซึ่งคาดว่ามีสารเคมีประมาณ 9,000 – 10,000 ชนิดที่อยู่ในข่ายนี้ หากไม่มีการจดทะเบียนจะไม่สามารถวางจำหน่ายในตลาดอียู

3.

การปรับระเบียบ RoHs และ WEEE

- กลุ่มผู้ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิกอียูแสดงความกังวลต่อการปรับแก้ไขระเบียบ RoHs และ WEEE ที่มุ่งปรับประสานระเบียบทั้งสองในแง่ที่ว่าจะทำให้มีความยุ่งยากในการตรวจสอบและปฏิบัติตามระเบียบทั้งสอง

 

- การพิจารณาการปรับระเบียบทั้งสองในช่วงปลายปี 2009  

- ภาคอุตสาหกรรมยุโรปกำลังล็อบบี้ในเรื่องการปรับระเบียบทั้งสองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาบางประการอาจมีผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าจากประเทศที่สาม

4.

ร่างระเบียบการควบคุมการปล่อยก๊าซ CO2 จากรถยนต์ 

- ฝรั่งเศสเตรียมเสนอภาษีการปล่อยก๊าซ CO2 ภายในปี 2010 เพื่อแก้ไขปัญหา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- อียูเตรียมจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซ CO2 จากรถตู้และรถบรรทุกเล็ก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเเหลือ 175 กรัมต่อกิโลเมตร (จากปัจจุบันที่ระดับเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร) ภายในช่วงกลางปี 2013 โดยคาดว่าจะเสนอร่างกฎหมายภายในสิ้นเดือนกันยายน 2009

 

- ผลกระทบในเรื่องดังกล่าวต่อไทยโดยตรงจะมีไม่มากนัก แต่แสดงให้เห็นแนวโน้มที่อียูจะพยายามใช้มาตรการต่างๆ ของตนเป็นเครื่องต่อรอง/ผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภูมิภาคอื่นในทำนองเดียวกัน

5.

ร่างระเบียบเกี่ยวกับสารเคมีที่มีผลในการทำลายชั้นบรรยากาศ 

- การประชุมผู้เชี่ยวชาญใน UNEP ที่เจนีวา ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงแนวทางการค่อยๆ ลดเลิกการใช้สาร HFCs อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอให้หารือเรื่องดังกล่าวในการเจรจาความตกลงสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่โคเปนเฮเกน ธ.ค. นี้

- คณะมนตรียุโรปรับรองการปรับข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดตั้งกฎเกณฑ์ในการผลิต การนำเข้า/ส่งออก การวางจำหน่าย การใช้ ฯลฯ สารเคมีที่มีผลในการทำลายชั้นบรรยากาศ (Ozone Depleting Substances หรือ ODS) ให้มีความชัดเจนและง่ายต่อการปฏิบัติมากขึ้น

- ผลการประชุมประเทศภาคี Montreal Protocol ใน พ.ย. 52 เกี่ยวกับสาร HFCs รวมทั้งการประชุม UNFCCC ที่โคเปนเฮเกนในเดือน ธ.ค. 52 เนื่องจาก G8 มีข้อคิดเห็นว่า ประเด็นเรื่องสาร HFCs ควรมีการพิจารณาในกรอบ UNFCCC ด้วย

- ภาคธุรกิจไทยควรประเมินบทบาทของตนในการลดการใช้  ODS และพิจารณามาตรการติดฉลากสำหรับสารเคมีที่อยู่ภายใต้การควบคุม ซึ่งจะเริ่มมีผลวันที่ 1 ก.ค. 2010 และการค่อยๆ ลดการใช้สาร HFCs  ไปจนถึงการห้ามใช้โดยสิ้นเชิงตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2019

6.

นโยบายและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน 

- การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอียูเมื่อ ก.ค. 2009 ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงว่าจะตั้งพันธกรณีเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา และไม่น่าจะมีการเสนอเรื่องนี้ก่อนช่วงครึ่งหลังของปี 2010

(เป้าหมายของอียูที่ได้ประกาศว่าจะเพิ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 20% เป็นการประกาศเป้าหมายในลักษณะเป็นตัวชี้วัด (Indicative) ซึ่งแตกต่างจากการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% และการเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน 20% ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย)

 

- การหารือในเรื่องนี้ไม่กระทบต่อไทยโดยตรง อย่างไรก็ดี ควรติดตามกฎระเบียบที่อาจนำไปสู่การติดฉลาก การกำหนด eco-design เป็นการเพิ่มเติมสำหรับสินค้าที่จำหน่ายภายในอียู

7.

การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ การลดการทำลายป่า และการปกป้องดิน 

- คณะกรรมาธิการยุโรปเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการใช้ดินโดยทางอ้อม (indirect land-use change) ที่เป็นผลจากการผลิตพืชเกษตรสำหรับการผลิตพลังงานโดยเสนอว่า อาจนำแนวคิดเรื่องนี้ไปปรับใช้กับสินค้าเกษตรประเภทอื่นๆ ด้วย


 

- ผู้ผลิต biofuel ควรให้ความสำคัญต่อการหารือเรื่องการใช้พื้นที่ และประเด็นความยั่งยืนในการผลิต biofuel ซึ่งจะนำไปสู่การออกกฎระเบียบในเรื่องนี้เพิ่มเติม

8.

การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Eco-design) การติดฉลากสิ่งแวดล้อม (Energy Label และ Eco-label)

- อียูได้ประกาศคุณสมบัติสำหรับสินค้าที่จะได้รับตรา EU Flower (Eco-label) เพิ่มเติม สำหรับสินค้าสิ่งทอ กระดาษทิชชู รองเท้า ฟูก และที่พักประเภทตั้งแคมป์

- คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศข้อบังคับการออกแบบ Eco-design สำหรับสินค้าเพิ่มเติม 4 รายการ ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน ปั๊มน้ำ โทรทัศน์ ตู้แช่เย็น/แช่แข็ง

- จากการสำรวจประชากรในยุโรปพบว่า ต้องการให้สินค้าติดฉลากที่ระบุปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 ตลอดช่วงวงจรของผลิตภัณฑ์


 

- คุณสมบัติด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นคุณสมบัติของสินค้าที่ชัดเจนในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้การออกข้อบังคับ Eco-design มีการเติบโตเพิ่มขึ้น และขยายไปสู่สินค้าที่ไม่ได้ใช้พลังงานโดยตรงต่อไป

คลิกเพื่อดูรายงานภาษาอังกฤษฉบับเต็ม

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์ไทยยุโรปดอตเน็ต www.thaieurope.net

  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - สรุปผลการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่ Poznan
บอกข่าวเล่าความ - สรุปรายงานการประชุม REACH Competent Authorities
บอกข่าวเล่าความ - การปรับแก้ข้อบังคับอียู เรื่องสารทำลายชั้นโอโซน
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น