สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

สารฆ่าหญ้าอาทราซีน ทำให้กบตัวผู้แปลงเพศ

ผู้เขียน: สำนักข่าวไทย
วันที่: 2 มี.ค. 2553

            ผลการทดลองพบว่า อาทราซีน สารฆ่าหญ้าที่ใช้กันบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งทำให้กบตัวผู้แปลงเพศเป็นกบตัวเมีย นับเป็นครั้งแรกที่พบหลักฐานนี้หลังจากเป็นที่ทราบกันว่า อาทราซีนมีผลต่อฮอร์โมนและเป็นสิ่งต้องสงสัยอันดับต้นๆ ว่าทำให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วโลกมีจำนวนลดลง

            คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลี ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยผลทดลองในวารสารโพรซีดดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอะคาเดมีออฟไซเอินซ์ ว่า กบตัวผู้ที่ได้รับอาทราซีนจะเป็นหมัน และกลายเป็นตัวเมียเมื่อโตขึ้น พวกเขาทดลองกับกบตัวผู้ 40 ตัว พบว่าอาทราซีนทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล องค์ประกอบพันธุกรรมพัฒนาผิดเพศกลายเป็นตัวเมีย เป็นผลที่ไปไกลกว่าที่เคยพบก่อนหน้านี้ว่าสารฆ่าหญ้าชนิดนี้ทำให้กบตัวผู้มีทั้งอวัยวะเพศผู้และเพศเมีย

            ผลการศึกษานี้อาจเพิ่มแรงกดดันต่อสหรัฐอเมริกาที่ใช้อาทราซีนปีละ 36,000 ตัน ขณะที่สหภาพยุโรป (อียู) สั่งห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2547 คณะนักวิจัยระบุว่า อาทราซีนเป็นสารฆ่าแมลงปนเปื้อนที่พบในดินและบนผิวน้ำมากที่สุด แต่ละปีมีอาทราซีนมากกว่า 220 ตัน ปนเปื้อนในน้ำฝนที่ตกในสหรัฐอเมริกา ด้านสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแจ้งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อนว่า กำลังศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของสารฆ่าหญ้าชนิดนี้

            ทางด้าน ซินเจนทา หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอาทราซีน ตั้งข้อสงสัยการออกแบบงานวิจัยโดยระบุว่า ดร. ไทโรน เฮยส์ หัวหน้าคณะวิจัย เคยมีประวัติเผยแพร่ผลการวิจัยที่มีข้อผิดพลาด พร้อมกับอ้างว่ามีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากสนับสนุนว่า อาทราซีน ซึ่งใช้ในการเกษตรมานานกว่า 50 ปี ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลา นกและสัตว์ป่าอื่นๆ ตามปริมาณความเข้มข้นที่พบอยู่ในธรรมชาติ

ที่มาของข้อมูล : สำนักข่าวไทย ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2553

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Atrazine
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - อียูเตรียมคุมเข้มเรื่องการจำกัดสารฆ่าแมลงอย่างยั่งยืน
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น