สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

ระเบิดแล้ว!!! เตานิวเคลียร์หมายเลข 2

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันที่: 15 มี.ค. 2554

            เช้าวันนี้ (15 มีนาคม 2554) สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ รายงานว่า เมื่อเวลา 6:10 น. ตามเวลาท้องถิ่น (เวลาในไทยประมาณ 04:00 น.) ได้เกิดเสียงระเบิดดังขึ้นที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 2 ฟุกุชิม่า สื่อของรัฐรายงานว่า อ่างเก็บน้ำหล่อเย็น (suppression pool) ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 ไม่ทำงาานทำให้ความดันภายในลดลงจนแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โผล่พ้นน้ำระดับของสารกัมมันตรังสีขึ้นถึงระดับสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด หลังจากได้ยินเสียงระเบิด และมีความกลัวว่าสารปนเปื้อนกัมมันตรังสีจะรั่วไหลออกมา 
 
            โดยโฆษกของบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ กล่าวว่า ได้มีการอพยพเจ้าหน้าที่บางคนออกจากพื้นที่แล้ว สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค รายงานว่า ความดันในเตาปฏิกรณ์ที่ 2 ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิม่า เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมาตราวัดการไหลของอากาศปิดลงโดยบังเอิญ ทำให้เกิดการปิดกั้นการไหลของน้ำที่จะเข้าไปหล่อเย็น ทำให้ระดับน้ำหล่อเย็นในเตาปฏิกรณ์ได้ลดลงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ส่งผลให้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โผล่พ้นน้ำอีกครั้ง ในเวลาต่อมาทางการญี่ปุ่น ได้แถลงว่าได้ทำการจ่ายน้ำทะเลเข้าไปยังเตาปฏิกรณ์ที่ 2 มีระดับถึงครึ่งของแท่งเชื้อเพลิงแล้ว ก่อนหน้านี้มีการใช้น้ำทะเลเพื่อลดความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เครื่องที่ 1 และเครื่องที่ 3

            ทั้งนี้ เตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ 6 แห่งในฟุกุชิมะ 3 แห่งถูกปิดตัวลง ที่เหลืออีก 3 แห่งเจ้าหน้าที่พยายามเติมน้ำทะเลเพื่อรักษาระดับความดัน และมีรายงานว่ามีการตรวจพบสารกัมมันตรังสี ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิม่า สูงเป็นสองเท่าของระดับสูงสุดที่เคยตรวจพบมา นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลและนักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ระบุว่า เตาปฏิกรณ์หลายเครื่องน่าจะอยู่ภายใต้การควบคุมได้แล้ว แม้มีความเสี่ยงอันตรายของกัมมันตรภาพรังสีเล็กน้อยก็ตาม แต่สถานทูตฝรั่งเศส ระบุว่า เตาปฏิกรณ์เครื่องอื่นๆ อาจระเบิด จนแผ่กระจายรังสีในลักษณะของกลุ่มควัน ที่อาจลุกลามเข้าถึงกรุงโตเกียวภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางและความเร็วของลม และเห็นว่าจากนี้ไปช่วง 3 ถึง 4 วันข้างหน้าเป็นเวลาสำคัญ อย่างไรก็ตาม สถานทูตฝรั่งเศส เตือนพลเมืองของตนที่อาศัยอยู่ใกล้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ให้อยู่แต่ในบ้าน และปิดเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งสวมใส่หน้ากากป้องกันแก็สพิษ หากมีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอก

            นอกจากนี้ รัฐบาลของประเทศและเขตปกครองพิเศษ อันได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน ต่างตรวจสอบอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น เพื่อดูว่า มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่ หลังจากโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น ได้รับความเสียหายเพราะแผ่นดินไหวและสึนามิ โดยระบุว่า เป็นมาตรการปลอดภัยไว้ก่อน หลังเกิดการระเบิด 2 ครั้ง ที่โรงงานฟูกูชิม่า ที่ตั้งอยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ประมาณ 250 กิโลเมตร และมีรายงานยืนยันพบผู้เสียชีวิตแล้ว 1,898 ราย สูญหาย 15,000 ราย

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 15 มีนาคม 2554

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Hydrogen
Uranium
  เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
บอกข่าวเล่าความ - เตาปฏิกรณ์ 3 ส่อบึ้ม เร่งอพยพสองแสนคนหนี
บอกข่าวเล่าความ - เตาปฏิกรณ์ 3 ควบคุมไม่อยู่บึ้มแล้ว
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น