สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
บอกข่าวเล่าความ

เทปโก... ชี้รังสีนุกแผ่ลงมหาสมุทร

ผู้เขียน: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันที่: 22 มี.ค. 2554

            เมื่อวันที่ 22 มี.ค. สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า บริษัท โตเกียว อิเล็กทริค พาวเวอร์ หรือ เทปโก ออกมาระบุว่า คลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดถล่มโรงไฟฟ้าปรมาณูฟุกุชิมะได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนกลายเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ของประเทศนั้น มีความสูงไม่ต่ำกว่า 14 เมตร ทั้งนี้ เทปโกเคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่า ความสูงของสึนามิที่ถาโถมเข้าใส่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ หมายเลข 1 จนระบบหล่อเย็นล้มเหลวนั้น อยู่ที่ราว 10 เมตร หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงระดับ 9.0 เมื่อวันที่ 11 มี.ค. แต่ต่อมาบริษัทพบร่องรอยที่ว่าคลื่นยักษ์ดังกล่าวมีการเพิ่มระดับ โดยขณะที่ ซัดผ่านลานจอดรถของโรงไฟฟ้านั้น มีความสูงอยู่ที่ 14 เมตร

            รายงานข่าวยังระบุเพิ่มเติมว่า เจ้าหน้าที่ของเทปโก ได้ตรวจพบสารไอโอไดน์-131 ในปริมาณที่เข้มข้นกว่าระดับปกติถึง 127 เท่า จากน้ำทะเลที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ขณะที่ระดับของสารซีเซียม-134 และซีเซียม-137 ที่พบในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเดียวกันก็สูงกว่าระดับปกติถึง 25 เท่าและ 17 เท่าตามลำดับ ไม่รวมถึงสารยูเรเนียมและพลูโตเนียมซึ่งยังไม่อาจวัดปริมาณได้ชัดเจน

            ขณะที่ โรงไฟฟ้าแฝดฟุกุชิมะหมายเลข 2 ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 10 กิโลเมตร ก็ถูกคลื่นยักษ์ดังกล่าว โจมตีเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้รับความเสียหายมากมายนัก ทั้งนี้ คนงานรับเหมาที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะหมายเลข 2 เผยกับสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ว่า เขาอพยพขึ้นเนินเขาทันที หลังแผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าทำนบกั้นน้ำ และทำให้แขนปั้นจั่นคันหนึ่งหัก อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งได้รับการออกแบบมาให้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ในระดับไม่เกิน 8.0 และทนต่อคลื่นยักษ์ที่สูงน้อยกว่า 5.7 เมตร สำหรับฟุกุชิมะหมายเลข 1 และไม่ถึง 5.2 เมตร สำหรับฟุกุชิมะหมายเลข 2

ที่มาของข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 22 มีนาคม 2554

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Hydrogen
Uranium
 
  ข้อคิดเห็น
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น