2014-2011 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทกิจกรรม
ที่มา
1 25 ต.ค. 2554 - น้ำไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่ท่วมโรงงานผลิตน้ำมันพืช ทำให้กากถั่วเหลืองและวัตถุดิบที่ใช้ผลิตน้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นก๊าซ 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซมีเทน แอมโมเนีย และไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า
- โรงงานผลิตน้ำมันพืชทิพ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 
- มีผู้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษ 5 ราย โดย 3 ราย มีอาการแน่นหน้าอก ระคายเคืองตาเล็กน้อย 1 ราย มีอาการอ่อนเพลีย อีก 1 ราย อาการหนัก ไม่รู้สึกตัว นอนในห้องไอซียู
- นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลชลประทานรังสฤษดิ์ และอพยพประชาชนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง 
4
2 14 ต.ค. 2554
22:10 น.
- เจ้าหน้าที่ของโรงงานได้พยายามขนย้ายถังที่ใส่สารเอททิวเอสเตทไปเก็บไว้บนชั้นเก็บของ เพื่อหนีน้ำที่ท่วมสูงขึ้น แต่ด้วยน้ำหนักของถังทำให้ชั้นพังลงมา สารเคมีในถังรั่วออกมาถูกน้ำ จึงทำให้เกิดระเบิดขึ้น
- โรงงานมาเจน แมกซิส ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ต.บ้านว้า อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 
- เกิดรอยไหม้บนผนังโรงงาน และถังใส่สารเคมีกระจายลอยอยู่ในน้ำ มีผู้บาดเจ็บ 3 ราย
- ระหว่างเกิดเหตุมีทีมทำงานของศูนย์ปฎิบัติการฉุกเฉินสารเคมี เตรียมพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเข้าไปประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง เพื่อประกาศเตือนชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีที่อาจจะเกิดอันตราย 
4
3 3 เม.ย. 2554
17:30 น.
- รถบรรทุกก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์คว่ำ ถังฉีกขาด ก๊าซรั่วไหล บริเวณวงแหวนมอเตอร์เวย์
- บริเวณกลางสะพานเข้าทางด่วนวงแหวนมอเตอร์เวย์ ทางหลวงหมายเลข 9 หมู่ 10 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 
- เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่บรรทุกมากว่า 20,000 ลิตรรั่วไหล มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย
- เจ้าหน้าที่ปิดกั้นการจราจรและผู้ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณดังกล่าว ประสานงานให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องก๊าซของบริษัทเจ้าของรถมาปิดวาล์วก๊าซ จนก๊าซหยุดรั่วไหล 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย