2014-2012 สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี - ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี
สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี
เหตุการณ์อุบัติภัยเคมี
ตั้งแต่      ถึง พ.ศ.  
ประเภทวัตถุเคมี      ประเภทกิจกรรม  
คำค้นหา      เรียงลำดับ     
ลำดับ
วัน/เวลา เกิดเหตุ
เหตุการณ์ / สถานที่
ความเสียหาย / การจัดการ
ประเภทกิจกรรม
ที่มา
1 6 พ.ค. 2555
18:30 น.
- เกิดเหตุแก๊สรั่วที่ โรงงานผลิตโซดาไฟ ซึ่งสารที่รั่วออกมาเป็นสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ ที่เป็นสารตั้งต้นทำโซดาไฟ ทำปฏิกิริยาเกิดเป็นก๊าซคลอรีนรั่วไหลออกมา
- บริเวณ บริษัท อดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง 
- ผู้สูดดมก๊าซคลอรีนมีอาการแสบตา แน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน จำนวน 138 ราย
- นำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล และได้สั่งหยุดเดินเครื่องการผลิต เจ้าหน้าที่จะเข้าพิสูจน์หลักฐานต่อไป 
4
2 25 เม.ย. 2555
17:00 น.
- พบแก๊สหลายชนิด บริเวณหลุมไฟ ทั้ง มีเทน แอมโมเนียที่มีปริมาณน้อย ส่วน คาร์บอนไดซัลไฟล์ หรือ CS 2 ตรวจพบรอบหลุมไฟอยู่ที่ 23 ppm เกินค่ามาตรฐานทั่วไปที่ 20 ppm และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ SO 2 ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.12 ppm แต่ตรวจพบมากกว่าค่ามาตรฐาน 55 เท่า
- บริเวณหลุมไฟ ม.9 ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 
- ยังไม่มีรายงานความเสียหาย ก๊าซอันตรายอย่างคาร์บอนไดซัลไฟล์ สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ ในระยะสั้นจะมีการระคายเคืองที่ดวงตาและผิวหนัง และถ้าได้รับเวลาหลายวัน จะมีอาการทางจิต มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ประสาทตาอักเสบ ถ้าระยะยาว จะเจ็บหน้าออก ปวดกล้าวเนื้อ ความจำเสื่อม รวมท้งอาจผิดปกติทางสมอง เส้นประสาทอักเสบ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถือเป็นอันตรายมากสำหรับคนที่อยู่ใกล้
- กรมควบคุมโรคได้มาตรวจพบสารพิษที่เป็นอันตรายบริเวณนี้แล้ว ได้ประสานกับ อบต.หนองกะท้าว ให้นำป้ายนำเชือกกั้นกันผู้คนไม่ให้เข้ามาใกล้หลุมไฟแห่งนี้ ถ้าเป็นไปได้ก็ควบจะห่างกว่า 500 เมตร 
4
หมายเหตุ: เก็บข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2557
ข้อมูลเหตุการณ์อุบัติภัยวัตถุเคมีเหล่านี้รวบรวมมาจาก 7 แหล่ง คือ
1. หนังสือมหันตภัยจากวัตถุเคมี โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ และพิณทิพ รื่นวงษา จัดพิมพ์ โดย บวท. สวทช. สกว. (ธันวาคม 2544)
2.
ข้อมูลรวบรวมโดย สุเมธา วิเชียรเพชร ฝ่ายติดตามและฟื้นฟูกองจัดการสารอันตราย และกากของเสีย กรมควบคุมมลพิษ
3.
ข้อมูลรวบรวมโดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.
ข้อมูลรวบรวมจากสื่อ
5.
ข้อมูลรวบรวมโดย สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
6.
ข้อมูลรวบรวมโดย ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.
ข้อมูลรวบรวมโดย กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ (สว.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย