GUIDE 120 ก๊าซ - เฉื่อย (รวมทั้ง Refrigerated Liquids)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- ไอระเหยทำให้หน้ามืด สลบโดยไม่มีสัญญาณเตือน
- ไอระเหยจากก๊าซเหลวในระยะแรกหนักกว่าอากาศและกระจายอยู่ตามพื้น
- การสัมผัสก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจทำให้เกิดการไหม้ บาดเจ็บอย่างรุนแรง และ/หรือ บวมเป็นน้ำเหลืองเนื่องจากความเย็นจัด
ไฟไหม้หรือระเบิด
- ก๊าซไม่ติดไฟ
- ภาขนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- ถังก๊าซที่ร้าวอาจพุ่งเป็นจรวด
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- ก๊าซหลายชนิดหนักกว่าอากาศและจะกระจายตามพื้น และรวมตัวอยู่ในพื้นที่ต่ำ หรือพื้นที่อับอากาศ (ท่อระบายน้ำ ใต้ถุน ในถัง ฯลฯ)
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณพื้นที่อับอากาศ เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันความร้อนได้ แต่กันสารเคมีได้จำกัด
- สวมชุดป้องกันความเย็นตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับของเหลวหรือของแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 100 เมตร (300 ฟุต)
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 100 เมตร (330 ฟุต)
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- ใช้สารเคมีดับไฟให้เหมาะสมกับชนิดของไฟ
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
- การเคลื่อนย้ายท่อก๊าซชำรุดจะต้องทำภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ถังที่มีไฟไหม้
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- อย่าฉีดน้ำตรงรอยรั่ว หรืออุปกรณ์นิรภัย น้ำแข็งอาจจับได้
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
หกหรือรั่วไหล
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดการระเหยไอ หรือเปลี่ยนทิศทางทำให้ไอลอยขึ้นไป อย่าให้น้ำสัมผัสกับสาร
- อย่าฉีดน้ำตรงที่รั่ว หรือรอยรั่ว
- ถ้าเป็นไปได้ ปล่อยให้ก๊าซรั่วดีกว่าให้ของเหลวรั่วออกมา
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
- ปล่อยให้สารระเหยไปเอง
- ระบายอากาศบริเวณนั้น
ข้อควรระวัง:  เมื่อสัมผัสกับของเหลวที่เย็น/เย็นจัดวัสดุต่าง ๆ จะแข็งกรอบและแตกง่ายโดยไม่มีการเตือน
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าทำได้โดยปลอดภัย
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- เสื้อผ้าที่เย็นจนแข็งตัวจับผิวหนังต้องทำให้อ่อนตัวลงก่อนค่อยถอดออก
- กรณีสัมผัสก๊าซเหลว ค่อย ๆ อุ่นส่วนที่ถูกความเย็นจัดด้วยน้ำอุ่น
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและผ่อนคลาย