GUIDE 129 ของเหลวไวไฟ (ไม่รวมกับน้ำ/กลิ่นเหม็น)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
- ไวไฟสูง;  จะทำให้ติดไฟ เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟได้ง่าย
- ไอระเหยอาจทำให้เกิดการระเบิดเมื่อรวมกับอากาศ
- ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปยังแหล่งที่ทำให้เกิดการติดไฟ และลุกติดไฟย้อนกลับไปยังต้นกำเนิด
- ไอส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มันจะกระจายตามพื้น และรวมตัวในบริเวณต่ำ หรือพื้นที่อับอากาศ (ท่อระบายน้ำ ใต้ถุน ในถัง ฯลฯ)
- การระเบิดจากไอระเหยในอาคาร นอกอาคาร หรือในท่อระบายน้ำ
- สารที่มีสัญลักษณ์ "P" อาจโพลิเมอร์ไรซ์ และระเบิดได้ เมื่อถูกความร้อน หรือเมื่อมีไฟไหม้
- น้ำจากท่อระบายน้ำอาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิด
- ภาขนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- ของเหลวหลาย ๆ ชนิดจะลอยเหนือน้ำ
สุขภาพ
- ถ้าสูดดมหรือซึมผ่านผิวหนังอาจทำให้เป็นพิษ
- การสูดดมหรือสัมผัสกับสารอาจทำให้ระคายเคืองหรือผิวหนังไหม้และเป็นอันตรายต่อตา
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- ไอระเหยอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือขาดอากาศหายใจ
- น้ำจากการดับเพลิง หรือน้ำเจือจางอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณพื้นที่อับอากาศ เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันความร้อนได้ แต่กันสารเคมีได้จำกัด
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต)
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 300 เมตร (1000 ฟุต)
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
-ในแคนาดา ผลิตภัณฑ์นี้อาจต้องมีแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน กรุณาดูเอกสารส่งของและหรือในหัวข้อโปรแกรมแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (หน้า390)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
ข้อควรระวัง : ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีจุดวาบไฟต่ำมาก การใช้น้ำพ่นเป็นละอองในการดับไฟอาจไม่ได้ผล
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือ โฟมทนแอลกอฮอล์
- อย่าใช้ผงเคมีแห้งควบคุมเพลิง ในกรณีที่มีสารไนโตรมีเทน (UN1261) หรือสารไนโตรอีเทน (UN2482)
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ แอลกอฮอล์ทนไฟ
- หลีกเลี่ยงการการพุ่งตรงหรือใช้มวลขนาดใหญ่ไปยังผลิตภัณฑ์โดยตรง
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
ไฟไหม้ ถัง หรือ รถ/รถพ่วง
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
- กรณีเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ ให้ใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่ไม่มีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ถอยออกจากพื้นที่และปล่อยให้เพลิงสงบเอง
หกหรือรั่วไหล
- กำจัดแหล่งกำเนิดไฟทั้งหมด (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำให้เกิดเปลวไฟ ประกายไฟ) ออกจากพื้นที่ใกล้เคียง
- อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ต้องต่อสายดิน
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
- ไอระเหย - โฟมยับยั้งการแพร่กระจายอาจนำมาใช้เพื่อลดไอระเหย
- ดูดซับหรือกลบด้วยดิน ทราย หรือ วัสดุดูดซับอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟและบรรจุลงภาชนะ
- ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อประกายไฟในการเก็บกวาดวัสดุดูดซับ
หกรั่วไหลมาก
- ทำทำนบกั้นของเหลวที่หกรั่วไหล เพื่อรอการกำจัดต่อไป
- ฉีดน้ำเป็นฝอย อาจช่วยลดไอระเหยของสาร แต่อาจจะไม่สามารถป้องกันการติดไฟในพื้นที่ปิด
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าทำได้โดยปลอดภัย
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ชะล้างผิวหนังด้วยสบู่และน้ำ
- ในกรณีที่ไฟไหม้ ผิงหนัง รีบทำให้เย็นทันทีเท่าที่จะทำได้ด้วยน้ำเย็น ไม่ถอดเสื้อผ้าออก ถ้าเสื้อผ้าติดผิวหนัง
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและผ่อนคลาย
- ผลจากการได้รับสาร (การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัสผิวหนัง) อาจไม่เกิดทันที