GUIDE 147 แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไออน

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
ถ้าแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนเสียหายหรือนำไปใช้ไม่ถูกต้อง สารอิเล็กทรอไลต์ซึ่งเป็นสารไวไฟที่บรรจุอยู่ในแบตเตอรี่อาจระบายออกมา ลุกติดไฟ และก่อประกายไฟได้ หากอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง (มากกว่า 150 องศาเซลเซียส หรือ 302 องศาฟาเรนไฮท์)
- หากเกิดเพลิงไหม้จะลุกลามอย่างรวดเร็ว และรุนแรง
อาจลุกไหม้แบตเตอรี่ลูกอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
สุขภาพ
การสัมผัสสารละละลายอิเล็กโทรไลต์ในแบตเตอรี่อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ตา และเยื่อบุเมือกต่าง ๆ
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
การเผาแบตเตอรี่อาจก่อให้เกิดก๊าซพิษของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (ดูคำแนะนำที่ 125)
- ควัน (ฟูม) อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือขาดอากาศหายใจ
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณพื้นที่อับอากาศ เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันความร้อนได้ แต่กันสารเคมีได้จำกัด
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต)
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 100 เมตร (330 ฟุต)
ไฟไหม้
- ถ้ารถขนส่งติดอยู่ในกองเพลิงให้ออกนอกรัศมี 500 เมตร (1/3 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพประชาชนในรัศมี 500 เมตร (1/3 ไมล์) ด้วย
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือ โฟมแบบธรรมดา
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ โฟมธรรมดา
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
หกหรือรั่วไหล
- กำจัดแหล่งกำเนิดไฟทั้งหมด (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำให้เกิดเปลวไฟ ประกายไฟ) ออกจากพื้นที่ใกล้เคียง
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- ดูดซับหรือกลบด้วยดิน ทราย หรือ วัสดุดูดซับอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟ
แบตเตอรี่ที่แตกและวัสดุดูดซับที่ปนเปื้อนควรเก็บไว้ในภาชนะโลหะ
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าทำได้โดยปลอดภัย
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที