GUIDE 157 สาร - เป็นพิษ และ/หรือกัดกร่อน (ไม่ติดไฟ / มีปฏิกิริยากับน้ำ)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- สารพิษ;  การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัส (ผิวหนัง,ตา) ไอระเหยของสาร ฝุ่นของสาร หรือสารอาจทำให้บาดเจ็บอย่างรุนแรง ไหม้ หรือตายได้
- ปฏิกิริยากับน้ำหรืออากาศชื้นจะปลดปล่อยก๊าซพิษ กัดกร่อน หรือไวไฟ
- ปฏิกิริยากับน้ำอาจทำให้เกิดความร้อนสูง ซึ่งจะไปเพิ่มความเข้มข้นของควันในอากาศ
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- น้ำจากการดับเพลิง หรือน้ำเจือจางอาจมีฤทธิกัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ และทำให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารไม่ติดไฟ จะไม่ลุกไหม้ด้วยตัวเอง แต่อาจจะสลายตัวโดยความร้อนแล้วให้ไอที่กัดกร่อนและ/หรือเป็นพิษ
- UN1796, UN1802, UN1826, UN2032, UN3084, UN3085 และ UN2031 ที่ความเข้มข้นมากกว่า 65 % อาจมีสภาพเป็นสารออกซิไดซ์ ดู GUIDE 140 ด้วย
- ไอระเหยอาจสะสมอยู่ในที่อับอากาศ (ใต้ถุน ถัง รถขนส่งสาร ฯลฯ
- สารอาจทำปฏิกิริยากับน้ำ (บางชนิดเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง) แล้วปลดปล่อยก๊าซที่เป็นพิษและ/หรือกัดกร่อน และน้ำ
- การสัมผัสกับโลหะอาจทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ
- ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณพื้นที่อับอากาศ เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมีนั้นเมื่อไม่มีความเสี่ยงหรือเพลิงไหม้
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันความร้อนได้ แต่กันสารเคมีได้จำกัด
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต) กรณีที่เป็นของเหลว และไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต) ในกรณีที่เป็นของแข็ง
หก
- สำหรับวัสดุที่มีแถบสี: ดูตารางที่ 1 - ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
- สำหรับวัสดุที่ไม่มีแถบสี เพิ่มระยะป้องกันในทิศทางตามลม ตามความจำเป็น
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
-ในแคนาดา ผลิตภัณฑ์นี้อาจต้องมีแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน กรุณาดูเอกสารส่งของและหรือในหัวข้อโปรแกรมแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (หน้า390)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- หมายเหตุ  โฟมบางชนิดจะทำปฏิกิริยากับสารและให้ก๊าซที่กัดกร่อน/เป็นพิษ
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- คาร์บอนไดออกไซด์ (ยกเว้น ไซยาไนด์) ผงเคมีแห้ง ทรายแห้ง โฟมทนแอลกอฮอร์
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ แอลกอฮอล์ทนไฟ
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
- หลีกเลี่ยงการการพุ่งตรงหรือใช้มวลขนาดใหญ่ไปยังผลิตภัณฑ์โดยตรง
- กักเก็บน้ำชะจากการควบคุมเพลิงเพื่อบำบัดภายหลัง
ไฟไหม้ ถัง หรือ รถ/รถพ่วง
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
หกหรือรั่วไหล
- กำจัดแหล่งกำเนิดไฟทั้งหมด (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำให้เกิดเปลวไฟ ประกายไฟ) ออกจากพื้นที่ใกล้เคียง
- อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ต้องต่อสายดิน
- อย่าสัมผัสภาชนะชำรุดหรือสารที่หกรั่วไหล นอกจากจะได้สวมชุดป้องกันที่เหมาะสม
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ไอระเหย - โฟมยับยั้งการแพร่กระจายอาจนำมาใช้เพื่อลดไอระเหย
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดการระเหยไอ หรือเปลี่ยนทิศทางทำให้ไอลอยขึ้นไป อย่าให้น้ำสัมผัสกับสาร
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
การหกรั่วไหลขนาดเล็ก
- คลุมด้วยดินแห้ง ทรายแห้ง หรือวัสดุดูดซับอื่นที่ไม่ติดไฟและคลุมอีกชั้นด้วยแผ่นพลาสติคหรือผ้าใบกันน้ำ เพื่อกันไม่ให้เกิดการกระจายหรือเปียกฝน
- ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อประกายไฟในการเก็บกวาดวัสดุดูดซับ และตักใส่ภาชนะพลาสติคปืดฝาหลวม ๆ  เพื่อรอการกำจัดต่อไป
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าทำได้โดยปลอดภัย
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ห้ามผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก ถ้าผู้ป่วยกลืนกินหรือสูดดมสารเข้าไป ล้างหน้าและปากก่อนช่วยให้หายใจด้วยหน้ากากชนิดที่มีทางเปิดด้านเดียวหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- กรณีผิวหนังสัมผัสกับกรดไฮโดรฟลูออริก (UN1790) ถ้ามีเจลแคลเซียมกลูโคเนท ให้ล้างผิวหนัง 5 นาที แล้วทาเจล ถ้าไม่มีเจลให้ล้างผิวต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีวิธีรักษา
- ถ้าบริเวณผิวสัมผัสไม่มาก หลีกเลี่ยงการขยายวงไปถูกผิวส่วนอื่น
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและผ่อนคลาย
- ผลจากการได้รับสาร (การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัสผิวหนัง) อาจไม่เกิดทันที