GUIDE 162 สารกัมมันตรังสี (รังสีระดับต่ำถึงระดับกลาง)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- เมิ่อเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่ง รังสีทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยมากต่อคนงาน บุคลากรโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน และประชาชนทั่วไป ความทนทานของหีบห่อ เพิ่มขึ้นเมื่อศักยภาพการแผ่รังสีและอันตรายถึงจุดวิกฤตของวัตถุกัมมันตรังสีที่เพิ่มขึ้น
- หีบห่อที่ไม่ชำรุดจะปลอดภัย สิ่งบรรจุภายในหีบห่อชำรุดอาจส่งรังสีถึงภายนอก และแผ่รังสีมากขึ้นทั้งภายนอกและภายในถ้าสิ่งบรรจุภายในถูกปลดปล่อยออกมา
- อันตรายจากรังสีจะต่ำเมื่อสารอยู่ในภาชนะ ถ้าสารหลุดออกมานอกหีบห่อหรือภาชนะ อันตรายจะมีทั้งระดับต่ำและปานกลาง ระดับของอันตรายจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารกัมมันตรังสี ชนิดของวัสดุที่ใช้บรรจสาร และ/หรือพื้นผิวที่รองรับสารรั่วไหล
- สารอาจเล็ดลอดออกจากหีบห่อระหว่างเกิดอุบัติเหตุไม่รุนแรงนัก แต่ความเสี่ยงอาจไม่สูง
- ถ้าหีบห่อชำรุดสามารถสังเกตเห็นสารกัมมันตรังสีหรือวัตถุปนเปื้อนได้
- การลักลอบจะใช้การขนส่งรวมไปกับสิ่งของอื่นๆจำนวนมาก และไม่ติดฉลาก "RADIOACTIVE" เนื่องจากการติดฉลาก เครื่องหมาย และเอกสารการขนส่งเป็นการเปิดเผยให้รู้ถึงตัวสิ่งของ
- ภาชนะบรรจุบางชนิดอาจติดฉลาก "RADIOACTIVE" และฉลากความเสี่ยงรอง.  โดยปกติฉลากความเสี่ยงรองมีความสำคัญกว่าอันตรายจากรังสี ดังนั้นจึงให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำตามความเสี่ยงรอง
- สารกัมมันตรังสีบางตัวไม่อาจใช้เครื่องมือที่มีอยู่ตรวจสอบได้
- น้ำที่เกิดจากไฟไหม้สินค้าอาจก่อให้เกิดมลพิษในระดับหนึ่ง
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารบางประเภทอาจไหม้ไฟ แต่ส่วนใหญ่ไม่ลุกติดไฟทันที
- การตัดโลหะ Uranium และ Thorium อาจติดไฟเองได้ ถ้ารวมกับอากาศ (ดู Guide 136)
- Nitrates เป็นสารอ๊อกซิไดซ์และอาจติดไฟกับสารติดไฟอื่น ๆ ได้ (ดู Guide 141)
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- การช่วยชีวิต ปฐมพยาบาล และการควบคุมไฟ รวมทั้งอันตรายอื่นสำคัญกว่าการวัดระดับรังสี
- ต้องรายงานอุบัติเหตุต่อหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับรังสี ซึ่งปรกติจะรับผิดชอบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับผลที่เกิดตามมา และการยุติภาวะฉุกเฉิน
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- กักตัวหรือแยกผู้ที่ไม่ได้รับอันตราย หรืออุปกรณ์ที่สงสัยว่าจะปนเปื้อน อย่าทำความสะอาดจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี
ชุดป้องกัน
- เครื่องช่วยหายใจแบบมีแรงดันบวก SCBA และชุดผจญเพลิงจะต้องสามารถป้องกันได้อย่างพอเพียง
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต)
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 100 เมตร (330 ฟุต)
ไฟไหม้
- เมื่อไฟไหม้สารจำนวนมากทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ ให้พิจารณาอพยพประชาชนโดยรอบ 300 เมตร (1000 ฟุต)
-ในแคนาดา ผลิตภัณฑ์นี้อาจต้องมีแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน กรุณาดูเอกสารส่งของและหรือในหัวข้อโปรแกรมแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (หน้า390)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- การมีสารกัมมันตรังสีจะไม่มีผลต่อกระบวนการควบคุมไฟและไม่ควรมีอิทธิพลต่อการเลือกเทคนิค
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
- อย่าเคลื่อนย้ายภาชนะชำรุด; ควรเคลื่อนย้ายภาชนะที่ไม่ชำรุดออกจากบริเวณไฟไหม้
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือ โฟมแบบธรรมดา
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือเป็นหมอก (ใช้น้ำปริมาณมาก)
- กักเก็บน้ำชะจากการควบคุมเพลิงเพื่อบำบัดภายหลัง
หกหรือรั่วไหล
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือสารที่หกรั่วไหล
- คลุมของเหลวที่หกรั่วไหลด้วยทราย ดิน หรือวัสดุดูดซับที่ไม่ติดไฟ
- ทำทำนบกั้นสารที่หกรั่วไหลปริมาณมาก
- คลุมสารที่หกเป็นผงด้วยแผ่นพลาสติคหรือผ้าใบกันน้ำ เพื่อกันไม่ให้เกิดการกระจาย
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- ปัญหาทางการแพทย์สำคัญกว่าปัญหาทางรังสีวิทยา
- ปฐมพยาบาลตามธรรมชาติของการบาดเจ็บ
- อย่าชักช้าในการดูแลและนำส่งผู้ได้รับอันตรายรุนแรง
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ในกรณีสัมผัสกับสาร ทำความสะอาดผิวหนังทันที และชะล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ผู้ที่ป่วยจากการสัมผัสสารที่ปล่อยออกมาไม่เป็นอันตรายต่อบุคลากรอื่น หรือต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ