GUIDE 166 สารกัมมันตรังสี -กัดกร่อน (Uranium Hexafluoride/ไวต่อปฏิกิริยากับน้ำ)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- ทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยมากต่อคนงาน บุคลากรโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน และประชาชนทั่วไป ความทนทานของหีบห่อ เพิ่มขึ้นเมื่อศักยภาพการแผ่รังสีและอันตรายถึงจุดวิกฤตของสิ่งของที่เพิ่มขึ้น
- อันตรายทางเคมีรุนแรงกว่าอันตรายจากรังสี
- สารทำปฏิกิริยากับน้ำและไอน้ำในอากาศได้ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ที่เป็นพิษและกัดกร่อน กรดไฮโดรฟลูออริก และเหลือสารตกค้างสีขาวที่ละลายน้ำได้ มีฤทธิ์กัดกร่อน และระคายเคืองอย่างรุนแรง
- ถ้าสูดดมเข้าไปอาจถึงตายได้
- การสัมผัสโดยตรงทำให้ผิวหนังไหม้ อันตรายต่อตา และทางเดินหายใจ
- สารกัมมันตรังสีระดับต่ำ;  อันตรายจากรังสีน้อย
- น้ำที่เกิดจากไฟไหม้สินค้าอาจก่อให้เกิดมลพิษในระดับหนึ่ง
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารบางประเภทไม่ไหม้ไฟ
- สารอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงกับเชื้อเพลิง
- ผลิตภัณฑ์จะสลายตัวให้ควันที่เป็นพิษและหรือกัดกร่อน
- ภาชนะบรรจุที่มีป้ายแสดง "AF", "B(U)F" หรือ "H(U)"  ในเอกสารการขนส่งหรือระบุมาบนหีบห่อ ถูกออกแบบ และตรวจวัดแล้วว่าสามารถรองรับสภาวะที่เลวร้าย เช่น อยู่ในกองไฟที่อุณหภูมิ 800 oC (1475oF) ได้เป็นเวลา 30 นาที
- ท่อก๊าซเปล่าซึ่งมี UN 2978 (อาจมีข้อความ H(U) หรือ H(M)) อาจจะเกิดรอยแตกขณะไฟไหม้;  ท่อก๊าซเปล่า (ยกเว้นส่วนที่เหลือ) จะไม่มีรอยแตกขณะไฟไหม้
- กัมมันตรังสีไม่เปลี่ยนความไวไฟหรือคุณสมบัติอื่น ๆ ของสาร
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- การช่วยชีวิต ปฐมพยาบาล และการควบคุมไฟ รวมทั้งอันตรายอื่นสำคัญกว่าการวัดระดับรังสี
- ต้องรายงานอุบัติเหตุต่อหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับรังสี ซึ่งปรกติจะรับผิดชอบต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับผลที่เกิดตามมา และการยุติภาวะฉุกเฉิน
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- กักตัวหรือแยกผู้ที่ไม่ได้รับอันตราย หรืออุปกรณ์ที่สงสัยว่าจะปนเปื้อน อย่าทำความสะอาดจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมีนั้นเมื่อไม่มีความเสี่ยงหรือเพลิงไหม้
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันความร้อนได้ แต่กันสารเคมีได้จำกัด
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต)
หก
ดูตารางที่ 1 - ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
ไฟไหม้
- เมื่อไฟไหม้สารจำนวนมากทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ ให้พิจารณาอพยพประชาชนโดยรอบ 300 เมตร (1000 ฟุต)
-ในแคนาดา ผลิตภัณฑ์นี้อาจต้องมีแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน กรุณาดูเอกสารส่งของและหรือในหัวข้อโปรแกรมแผนสนับสนุนการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (หน้า390)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- ห้ามใช้น้ำหรือโฟม ฉีดลงบนสาร
- ถ้าทำได้อย่างปลอดภัย เคลื่อนย้ายบรรจุภัณฑ์ที่เสียหายออกจากบริเวณโดยรอบกองไฟ
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง หรือ คาร์บอนไดออกไซด์
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ โฟมธรรมดา
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- ถ้าเป็นไปไม่ได้ ถอยออกจากพื้นที่ และปล่อยให้ไฟลุกไหม้
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
หกหรือรั่วไหล
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือสารที่หกรั่วไหล
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
- ถ้าปราศจากไฟหรือควัน จะเห็นรอยรั่วได้จากไอระเหยที่ระคายเคืองและสิ่งตกค้างที่เกาะอยู่ตรงรอยรั่ว
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดไอ อย่าฉีดน้ำตรง ๆ ที่จุดสารรั่วออกจากภาชนะบรรจุ
- สารตกค้างที่สะสม อาจช่วยสมานรอยรั่วเล็ก ๆ ได้
- ทำทำนบกั้นป้องกันการรั่วไหล ของสารที่จะลงสู่ท่อน้ำทิ้ง
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- ปัญหาทางการแพทย์สำคัญกว่าปัญหาทางรังสีวิทยา
- ปฐมพยาบาลตามธรรมชาติของการบาดเจ็บ
- ในกรณีที่สัมผัสก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ และ/หรือ กรดไฮโดรฟลูออริก ถ้ามีเจลแคลเซียมกลูโคเนท ให้ล้างผิวหนัง 5 นาที แล้วทาเจล ถ้าไม่มีเจลให้ล้างผิวต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีวิธีรักษา
- อย่าชักช้าในการดูแลและนำส่งผู้ได้รับอันตรายรุนแรง
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ผลจากการได้รับสาร (การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัสผิวหนัง) อาจไม่เกิดทันที
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและผ่อนคลาย