GUIDE 169 อลูมิเนียม (หลอมเหลว)

English

อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
ขนส่งสารในรูปสารหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า 705 องศาเซลเซียส (1300 องศาฟาเรนไฮท์)
- ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ อาจระเบิด หรือให้ก๊าซไวไฟ
- สารจุดให้ติดไฟได้ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ของปรักหักพัง ฯลฯ)
- การสัมผัสกับสารไนเตรท หรือสารอ๊อกซิไดซ์ อาจทำให้ระเบิด
- การสัมผัสกับภาชนะหรือสาร รวมทั้งเครื่องมือที่เย็น เปียก หรือสกปรกอาจเกิดระเบิด
- สัมผัสกับของแข็งจะทำให้แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
สุขภาพ
- การสัมผัสทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อตา
- ไฟอาจก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง และ/หรือเป็นพิษ
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทร. 911  จากนั้นโทรหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุไว้ในเอกสารชิปปิ้ง ถ้าเอกสารชิปปิ้งไม่มีหรือติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อเบอร์โทรที่เหมาะสมตามรายการที่ให้ไว้บนปกในของหนังสือ
- อยู่เหนือลม บนที่สูง และ/หรือต้นน้ำ
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณพื้นที่อับอากาศ เฉพาะผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมและมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเท่านั้น
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดผจญเพลิงที่มีสมบัติหน่วงไฟ รวมทั้งหน้ากากเต็มหน้า หมวก และถุงมือ ซึ่งมีข้อจำกัดในการป้องกันความร้อน
การอพยพ
มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันที
- กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- ห้ามใช้น้ำ นอกจากในสถานะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ให้ฉีดน้ำเป็นฝอยน้อย ๆ
- อย่าใช้อุปกรณ์ดับไฟพวกเฮโลเจน หรือ โฟม
- เคลื่อนย้ายสิ่งไหม้ไฟออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าทำได้โดยไม่เสี่ยง
- ดับไฟที่เกิดจากวัตถุหลอมเหลวด้วยวิธีการสำหรับวัตถุไหม้ไฟตามความเหมาะสม อย่าให้น้ำ สารดับไฟประเภทฮาโลเจน  และ โฟมเข้าใกล้สารหลอมเหลว
หกหรือรั่วไหล
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- อย่าพยายามยับยั้งการรั่วไหล เพราะจะเกิดอันตรายจากการระเบิด
- เก็บสารติดไฟ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ฯลฯ) ให้ห่างจากสารที่หกรั่วไหล
- สารไหลได้ การกระจายตัวรวดเร็ว และอาจกระเด็น อย่าพยายามหยุดยั้งด้วยการตักด้วยเสียมหรืออุปกรณ์ใด ๆ
- ทำทำนบกั้นห่างจากการรั่วไหล;  โดยใช้ทรายป้องกันการไหลของสาร
- ถ้าเป็นไปได้ ปล่อยให้วัสดุหลอมเหลวแข็งตัวอย่างธรรมชาติ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารดังกล่าว แม้ว่าจะแข็งตัวแล้ว อลูมินัม เหลว ซึ่งได้รับความร้อนมีลักษณะคล้ายสารที่ถูกปล่อยให้เย็นตัวลง อย่าสัมผัสสารนอกจากทราบว่าสารนั้นเย็นตัวลงแล้ว
- ทำความสะอาดภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ หลังจากที่สารแข็งตัวแล้ว
การปฐมพยาบาล
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าทำได้โดยปลอดภัย
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- สำหรับแผลไหม้รุนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
- การกำจัดสารเคมีที่หลอมเหลวแล้วแข็งตัวที่ผิวหนังต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและผ่อนคลาย