UN Number: 1898   Acetyl iodide

English

ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
สัญลักษณ์
การหกรั่วไหลขนาดเล็ก
(จากภาชนะบรรจุขนาดเล็ก หรือการรั่วไหลเล็กน้อยจากภาชนะบรรจุขนาดใหญ่)
การหกรั่วไหลขนาดใหญ่
(จากภาชนะบรรจุขนาดใหญ่ หรือจากภาชนะบรรจุขนาดเล็กจำนวนมาก)
ระยะเขตอันตรายเบื้องต้นในทุกทิศทาง
ระยะเขตอันตรายในทิศทางใต้ลม ระหว่าง
ระยะเขตอันตรายเบื้องต้นในทุกทิศทาง
ระยะเขตอันตรายในทิศทางใต้ลม ระหว่าง
กลางวัน
กลางคืน
กลางวัน
กลางคืน
30 ม. (100 ฟุต) 0.1 กม. (0.1 ไมล์) 0.3 กม. (0.2 ไมล์) 60 ม. (200 ฟุต) 0.5 กม. (0.3ไมล์) 1.4 กม. (0.9 ไมล์)
Toxic Gas(es) Produced When Spilled in Water: HI
GUIDE 156 สาร - เป็นพิษ และ/หรือกัดกร่อน (ติดไฟ / มีปฏิกิริยากับน้ำ)
อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารติดไฟ:  อาจลุกไหม้ แต่ไม่เกิดการติดไฟ
- สารบางประเภททำปฏิกิริยากับน้ำ (บางครั้งอย่างรุนแรง) แล้วให้ก๊าซไวไฟ เป็นพิษ หรือกัดกร่อน และไหลไป
- เมื่อร้อน ไอระเหยอาจรวมกับอากาศทำให้เกิดการระเบิดได้ทั้ง  ภายใน ภายนอก และท่อระบายน้ำ
- ไอส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มันจะกระจายตามพื้น และรวมตัวในบริเวณต่ำ หรือบริเวณจำกัด (ท่อระบายน้ำ ใต้ถุน ในถัง ฯลฯ)
- ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปยังแหล่งที่ทำให้เกิดการติดไฟ และลุกติดไฟย้อนกลับไปยังต้นกำเนิด
- การสัมผัสกับโลหะอาจทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ
- ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
สุขภาพ
- สารพิษ;  การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัส (ผิวหนัง,ตา) ไอระเหยของสาร ฝุ่นของสาร หรือสารอาจทำให้บาดเจ็บอย่างรุนแรง ไหม้ หรือตายได้
- การสัมผัสสารหลอมเหลวอาจทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อตา
- ปฏิกิริยากับน้ำหรืออากาศชื้นจะปลดปล่อยก๊าซพิษ กัดกร่อน หรือไวไฟ
- ปฏิกิริยากับน้ำอาจทำให้เกิดความร้อนสูง ซึ่งจะไปเพิ่มความเข้มข้นของควันในอากาศ
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- น้ำจากการดับเพลิงหริอน้ำที่ทำให้เจือจาง อาจทำให้เกิดการกัดกร่อน และหรือเป็นพิษ และก่อให้เกิดมลพิษ
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทรศัพท์เรียกทีมฉุกเฉินตามเอกสารการขนส่ง ถ้าเอกสารการขนส่งไม่มีหรือไม่มีการตอบรับ, ตรวจสอบรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากปกหลังด้านใน
- มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันทีคือ กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบทันทีไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต) สำหรับของเหลว และ ไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต) สำหรับของแข็ง
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม
- ออกห่างจากบริเวณต่ำ
- ระบายอากาศบริเวณที่อับ
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมี อย่างไรก็ดี ชุดดังกล่าวอาจป้องกันความร้อนเล็กน้อยหรือไม่ป้องกันเลย
- ชุดผจญเพลิงให้การปกป้องในสถานการณ์ไฟไหม้ปกติเท่านั้น มันจะไม่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีสารเคมีรั่วไหลที่อาจต้องมีการสัมผัสกับสารโดยตรง
การอพยพ
หก
ดูตารางที่ 1 - ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน สำหรับวัสดุที่เน้นสีไว้ สำหรับวัสดุที่ไม่ได้เน้นสี ให้เพิ่มระยะในทิศทางใต้ลม หากจำเป็น ระยะเขตอันตรายต้องเป็นไปตามหลัก "ความปลอดภัยในที่สาธารณะ"
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- หมายเหตุ  โฟม จะทำปฏิกิริยากับสารและให้ก๊าซที่กัดกร่อนเป็นพิษ
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- CO2  ผงเคมีแห้ง ทรายแห้ง alcohol-resistant foam
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ แอลกอฮอล์ทนไฟ
- สำหรับ คลอโรไซเลน อย่าใช้น้ำ ให้ใช้ AFFF โฟมทนไฟชนิดขยายตัวปานกลาง
- เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงภัย
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยหรือเป็นหมอก ไม่ฉีดเป็นลำตรง
ไฟไหม้ ถัง หรือ รถ/รถพ่วง
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้สายฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
หกหรือรั่วไหล
- กำจัดแหล่งกำเนิดไฟทั้งหมด (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำให้เกิดเปลวไฟ ประกายไฟในพื้นที่ใกล้ ๆ)
- อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ต้องต่อสายดิน
- อย่าสัมผัสภาชนะชำรุดหรือสารที่หกรั่วไหล นอกจากจะได้สวมชุดป้องกันที่เหมาะสม
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ใช้โฟมคลุมไอระเหยเพื่อลดไอลง
- สำหรับ คลอโรไซเลน ไม่ใช้น้ำ ให้ใช้ AFFF โฟมทนไฟชนิดขยายตัวปานกลาง เพื่อลดไอระเหย
- อย่าฉีดน้ำบนสารที่หกรั่วไหลหรือภายในภาชนะ
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดการระเหยไอ หรือเปลี่ยนทิศทางทำให้ไอลอยขึ้นไป อย่าให้น้ำสัมผัสกับสาร
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
การหกรั่วไหลขนาดเล็ก
- คลุมด้วยดินแห้ง ทรายแห้ง หรือวัสดุดูดซับอื่นที่ไม่ติดไฟและคลุมอีกชั้นด้วยแผ่นพลาสติคหรือผ้าใบกันน้ำ เพื่อกันไม่ให้เกิดการกระจายหรือเปียกฝน
- ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อประกายไฟในการเก็บกวาดวัสดุดูดซับ และตักใส่ภาชนะพลาสติคปืดฝาหลวม ๆ  เพื่อรอการกำจัดต่อไป
การปฐมพยาบาล
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยกลืนกินหรือสูดดมสารเข้าไป อย่าใช้วิธีปากต่อปาก ช่วยให้หายใจด้วยหน้ากากชนิดที่มีทางเปิดด้านเดียวหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ถ้าบริเวณผิวสัมผัสไม่มาก หลีกเลี่ยงการขยายวงไปถูกผิวส่วนอื่น
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและไม่ถูกรบกวน
- ผลจากการได้รับสาร (การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัสผิวหนัง) อาจไม่เกิดทันที
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง