UN Number: 2014   Hydrogen peroxide, aqueous solution, with not less than 20% but not more than 60% Hydrogen peroxide (stabilized as necessary)

English

GUIDE 140 สารอ๊อกซิไดซ์
อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารกลุ่มนี้จะเร่งการเผาไหม้ เมื่อมีไฟไหม้
- สารบางประเภทเมื่อได้รับความร้อนหรือไฟไหม้อาจระเบิด
- อาจระเบิดเนื่องจากความร้อน หรือการปนเปื้อน
- สารบางประเภทระเบิดเมื่อทำปฏิกิริยากับ ไฮโดรคาร์บอน (เชื้อเพลิง)
- อาจติดไฟได้ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน เสื้อผ้า ฯลฯ)
- ภาขนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- น้ำจากการดับเพลิงอาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิด
สุขภาพ
- การสูดดม การกลืนกิน หรือการสัมผัส (ผิวหนัง,ตา) กับไอของสารหรือสารอาจทำให้บาดเจ็บอย่างรุนแรง ไหม้ หรือตายได้
- ไฟอาจก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- น้ำจากการดับเพลิงหรือน้ำที่ทำให้เจือจาง อาจก่อให้เกิดมลพิษ
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทรศัพท์เรียกทีมฉุกเฉินตามเอกสารการขนส่ง ถ้าเอกสารการขนส่งไม่มีหรือไม่มีการตอบรับ, ตรวจสอบรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากปกหลังด้านใน
- มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันทีคือ กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบทันทีไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต) สำหรับของเหลว และ ไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต) สำหรับของแข็ง
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม
- ออกห่างจากบริเวณต่ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณที่อับ
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมี อย่างไรก็ดี ชุดดังกล่าวอาจป้องกันความร้อนเล็กน้อยหรือไม่ป้องกันเลย
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันได้ในระดับจำกัด
การอพยพ
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 100 เมตร (330 ฟุต)
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
ใช้น้ำ ห้ามใช้สารเคมีแห้งหรือโฟม การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Halon® อาจให้ผลการควบคุมที่จำกัด
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำมาก ๆ จากระยะไกล
- อย่าเคลื่อนย้ายสินค้า หรือพาหนะ ถ้าสินค้าสัมผัสกับความร้อนมาก่อน
- เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงภัย
ไฟไหม้ ถัง หรือ รถ/รถพ่วง
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้สายฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
- กรณีเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ ให้ใช้สายฉีดน้ำที่ไม่มีคนถือ หรือใช้หัวที่มีระบบควบคุม หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ถอยออกจากพื้นที่และปล่อยให้เพลิงสงบเอง
หกหรือรั่วไหล
- เก็บสารติดไฟ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ฯลฯ) ให้ห่างจากสารที่หกรั่วไหล
- อย่าสัมผัสภาชนะชำรุดหรือสารที่หกรั่วไหล นอกจากจะได้สวมชุดป้องกันที่เหมาะสม
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
การหกรั่วไหลขนาดเล็กของวัสดุที่แห้ง
- ใช้อุปกรณ์สะอาด เก็บสารเคมีที่หกรั่วไหล ใส่ในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิดหลวมๆ เคลื่อนย้ายออกจากบริเวณที่หกรั่วไหล
การหกรั่วไหลขนาดเล็กของของเหลว
- ใช้วัสดุไม่ติดไฟเหมือน Vermiculite หรือทราย ดูดน้ำออก และเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุเพื่อรอการกำจัดต่อไป
หกรั่วไหลมาก
- ทำทำนบกั้นของเหลวที่หกรั่วไหล เพื่อรอการกำจัดต่อไป
- ใช้น้ำปริมาณมากล้างบริเวณที่หกรั่วไหลให้กลับสู่สภาพเดิม
การปฐมพยาบาล
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- เสื้อผ้าที่เปื้อนสาร อาจติดไฟได้เมื่อแห้ง
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและไม่ถูกรบกวน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง