UN Number: 3274   Alcoholates solution, n.o.s., in alcohol

English

GUIDE 132 ของเหลวไวไฟ - กัดกร่อน
อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
- วัตถุไวไฟ/สารติดไฟได้
- อาจติดไฟเมื่อถูกความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ
- ไอระเหยอาจทำให้เกิดการระเบิดเมื่อรวมกับอากาศ
- ไอระเหยอาจเคลื่อนที่ไปยังแหล่งที่ทำให้เกิดการติดไฟ และลุกติดไฟย้อนกลับไปยังต้นกำเนิด
- ไอส่วนใหญ่หนักกว่าอากาศ มันจะกระจายตามพื้น และรวมตัวในบริเวณต่ำ หรือบริเวณจำกัด (ท่อระบายน้ำ ใต้ถุน ในถัง ฯลฯ)
- การระเบิดจากไอระเหยในอาคาร นอกอาคาร หรือในท่อระบายน้ำ
- สารที่มีสัญลักษณ์ "P" อาจโพลิเมอร์ไรซ์รุนแรง ระเบิดได้ เมื่อถูกความร้อน หรือเมื่อมีไฟไหม้
- น้ำจากท่อระบายน้ำอาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิด
- ภาขนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- ของเหลวหลายอย่างเบากว่าน้ำ
สุขภาพ
- ถ้าสูดดม หรือกลืนกินอาจทำให้เป็นพิษ
- การสัมผัสสารอาจทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อตา
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- ไอระเหยทำให้หน้ามืด หายใจไม่ออก หรืออึดอัด
- น้ำจากการดับเพลิงหรือน้ำที่ทำให้เจือจาง อาจก่อให้เกิดมลพิษ
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทรศัพท์เรียกทีมฉุกเฉินตามเอกสารการขนส่ง ถ้าเอกสารการขนส่งไม่มีหรือไม่มีการตอบรับ, ตรวจสอบรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากปกหลังด้านใน
- มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันทีคือ กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบทันทีไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต)
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม
- ออกห่างจากบริเวณต่ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณที่อับ
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมี อย่างไรก็ดี ชุดดังกล่าวอาจป้องกันความร้อนเล็กน้อยหรือไม่ป้องกันเลย
- ชุดผจญเพลิงให้การปกป้องในสถานการณ์ไฟไหม้ปกติเท่านั้น มันจะไม่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีสารเคมีรั่วไหลที่อาจต้องมีการสัมผัสกับสารโดยตรง
การอพยพ
หกรั่วไหลมาก
ดูตารางที่ 1 - ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน สำหรับวัสดุที่เน้นสีไว้ สำหรับวัสดุที่ไม่ได้เน้นสี ให้เพิ่มระยะในทิศทางใต้ลม หากจำเป็น ระยะเขตอันตรายต้องเป็นไปตามหลัก "ความปลอดภัยในที่สาธารณะ"
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- สารบางประเภทอาจทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ ฉีดน้ำเป็นฝอย หรือ โฟมทนแอลกอฮอล์
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ แอลกอฮอล์ทนไฟ
- เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงภัย
- ทำทำนบกั้นน้ำดับเพลิง เพื่อรอการกำจัดต่อไป อย่าทิ้งกระจัดกระจาย
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
ไฟไหม้ ถัง หรือ รถ/รถพ่วง
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้สายฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
- กรณีเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ ให้ใช้สายฉีดน้ำที่ไม่มีคนถือ หรือใช้หัวที่มีระบบควบคุม หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ถอยออกจากพื้นที่และปล่อยให้เพลิงสงบเอง
หกหรือรั่วไหล
- กรณีหกรั่วไหลที่ไม่มีไฟ ควรใช้ชุดป้องกันสารเคมีชนิดคลุมทั้งตัว และชุดป้องกันไอระเหยของสารเคมี
- กำจัดแหล่งกำเนิดไฟทั้งหมด (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทำให้เกิดเปลวไฟ ประกายไฟในพื้นที่ใกล้ ๆ)
- อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ต้องต่อสายดิน
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
- ใช้โฟมคลุมไอระเหยเพื่อลดไอลง
- ดูดซับหรือกลบด้วยดิน ทราย หรือ วัสดุดูดซับอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟและบรรจุลงภาชนะ (ยกเว้น ไฮดราซีน)
- ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อประกายไฟในการเก็บกวาดวัสดุดูดซับ
หกรั่วไหลมาก
- ทำทำนบกั้นของเหลวที่หกรั่วไหล เพื่อรอการกำจัดต่อไป
- ฉีดน้ำเป็นฝอย อาจช่วยลดไอระเหยของสาร แต่อาจจะไม่สามารถป้องกันการติดไฟในบริเวณที่อับ
การปฐมพยาบาล
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยกลืนกินหรือสูดดมสารเข้าไป อย่าใช้วิธีปากต่อปาก ช่วยให้หายใจด้วยหน้ากากชนิดที่มีทางเปิดด้านเดียวหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ในกรณีที่ไฟไหม้ ผิงหนัง รีบทำให้เย็นทันทีเท่าที่จะทำได้ด้วยน้ำเย็น ไม่ถอดเสื้อผ้าออก ถ้าเสื้อผ้าติดผิวหนัง
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและไม่ถูกรบกวน
- ผลจากการได้รับสาร (การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัสผิวหนัง) อาจไม่เกิดทันที
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง