UN Number: 3353   Air bag modules, compressed gas

English

GUIDE 126 ก๊าซ - ก๊าซอัด หรือก๊าซเหลว (รวมทั้ง Refrigerated Liquids)
อันตรายที่อาจเกิดได้
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารบางประเภทอาจไหม้ไฟ แต่ไม่มีสารใดลุกติดไฟทันที
- ภาขนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- ถังก๊าซที่ร้าวอาจพุ่งเป็นจรวด
สุขภาพ
- ไอระเหยทำให้หน้ามืด สลบโดยไม่มีสัญญาณเตือน
- ไอระเหยจากก๊าซเหลวในระยะแรกหนักกว่าอากาศและกระจายอยู่ตามพื้น
- การสัมผัสก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจทำให้เกิดการไหม้ บาดเจ็บอย่างรุนแรง และ/หรือ บวมเป็นน้ำเหลืองเนื่องจากความเย็นจัด
- ไฟอาจก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทรศัพท์เรียกทีมฉุกเฉินตามเอกสารการขนส่ง ถ้าเอกสารการขนส่งไม่มีหรือไม่มีการตอบรับ, ตรวจสอบรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากปกหลังด้านใน
- มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันทีคือ กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบทันทีไม่น้อยกว่า 100 เมตร (300 ฟุต)
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม
- ก๊าซหลายชนิดหนักกว่าอากาศและจะกระจายตามพื้น และรวมตัวอยู่ในพื้นที่ต่ำ หรือจำกัด (ท่อระบายน้ำ ใต้ถุน ในถัง ฯลฯ)
- ออกห่างจากบริเวณต่ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณที่อับ
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมี อย่างไรก็ดี ชุดดังกล่าวอาจป้องกันความร้อนเล็กน้อยหรือไม่ป้องกันเลย
- ชุดผจญเพลิงจะป้องกันได้ในระดับจำกัด
การอพยพ
หกรั่วไหลมาก
- อันดับแรกพิจารณาอพยพประชาชนที่อยู่ใต้ลมออกไปอย่างน้อย 500 เมตร (1/3 ไมล์)
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- ใช้สารเคมีดับไฟให้เหมาะสมกับชนิดของไฟ
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง หรือ คาร์บอนไดออกไซด์
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำเป็นฝอย เป็นหมอก หรือ โฟมธรรมดา
- เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงภัย
- การเคลื่อนย้ายท่อก๊าซชำรุดจะต้องทำภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ถังที่มีไฟไหม้
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้สายฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- อย่าฉีดน้ำตรงรอยรั่ว หรืออุปกรณ์นิรภัย น้ำแข็งอาจจับได้
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
- สารบางประเภทในกลุ่มนี้ระเหยเมื่อหกรั่วไหล แต่อาจมีส่วนที่เป็นสารไวไฟเหลืออยู่
หกหรือรั่วไหล
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- อย่าฉีดน้ำตรงที่รั่ว หรือรอยรั่ว
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดการระเหยไอ หรือเปลี่ยนทิศทางทำให้ไอลอยขึ้นไป อย่าให้น้ำสัมผัสกับสาร
- ถ้าเป็นไปได้ ปล่อยให้ก๊าซรั่วดีกว่าให้ของเหลวรั่วออกมา
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
- ปล่อยให้สารระเหยไปเอง
- ระบายอากาศบริเวณนั้น
การปฐมพยาบาล
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสก๊าซเหลว ค่อย ๆ อุ่นส่วนที่ถูกความเย็นจัดด้วยน้ำอุ่น
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและไม่ถูกรบกวน
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง