UN Number: 1017   Chlorine

English

ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
สัญลักษณ์
การหกรั่วไหลขนาดเล็ก
(จากภาชนะบรรจุขนาดเล็ก หรือการรั่วไหลเล็กน้อยจากภาชนะบรรจุขนาดใหญ่)
การหกรั่วไหลขนาดใหญ่
(จากภาชนะบรรจุขนาดใหญ่ หรือจากภาชนะบรรจุขนาดเล็กจำนวนมาก)
ระยะเขตอันตรายเบื้องต้นในทุกทิศทาง
ระยะเขตอันตรายในทิศทางใต้ลม ระหว่าง
ระยะเขตอันตรายเบื้องต้นในทุกทิศทาง
ระยะเขตอันตรายในทิศทางใต้ลม ระหว่าง
กลางวัน
กลางคืน
กลางวัน
กลางคืน
60 ม. (200 ฟุต) 0.4 กม. (0.3 ไมล์) 1.6 กม. (1.0 ไมล์) 600 ม. (2000 ฟุต) 3.5 กม. (2.2ไมล์) 8.0 กม. (5.0 ไมล์)
GUIDE 124 ก๊าซ - เป็นพิษ และ/หรือกัดกร่อน - อ๊อกซิไดซ์
อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- สารพิษ;  อาจตายได้ถ้าสูดดมหรือซึมผ่านผิวหนัง
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- การสัมผัสก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจทำให้เกิดการไหม้ บาดเจ็บอย่างรุนแรง และ/หรือ บวมเป็นน้ำเหลืองเนื่องจากความเย็นจัด
- น้ำจากการดับเพลิง อาจก่อให้เกิดมลพิษ
ไฟไหม้หรือระเบิด
- สารบางประเภทไม่ทำให้ไฟไหม้แต่จะช่วยในการสันดาป
- ไอระเหยจากก๊าซเหลวในระยะแรกหนักกว่าอากาศและกระจายอยู่ตามพื้น
- สารกลุ่มนี้เป็นสารอ๊อกซิไดซ์รุนแรง และจะทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงหรือระเบิด กับสารหลายชนิดรวมทั้งเชื้อเพลิง
- อาจติดไฟได้ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน เสื้อผ้า ฯลฯ)
- สารบางประเภทมีปฏิกิริยารุนแรงเมื่อสัมผัสกับอากาศ อากาศชื้น และ/หรือน้ำ
- ท่อระเบิดอาจจะระบายและปล่อยก๊าซพิษ และ/หรือก๊าซกัดกร่อนผ่านท่อระบายความดัน
- ภาขนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- ถังก๊าซที่ร้าวอาจพุ่งเป็นจรวด
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทรศัพท์เรียกทีมฉุกเฉินตามเอกสารการขนส่ง ถ้าเอกสารการขนส่งไม่มีหรือไม่มีการตอบรับ, ตรวจสอบรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากปกหลังด้านใน
- มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันทีคือ กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบทันทีไม่น้อยกว่า 100 เมตร (300 ฟุต)
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม
- ก๊าซหลายชนิดหนักกว่าอากาศและจะกระจายตามพื้น และรวมตัวอยู่ในพื้นที่ต่ำ หรือจำกัด (ท่อระบายน้ำ ใต้ถุน ในถัง ฯลฯ)
- ออกห่างจากบริเวณต่ำ
- ระบายอากาศก่อนเข้าบริเวณที่อับ
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมี อย่างไรก็ดี ชุดดังกล่าวอาจป้องกันความร้อนเล็กน้อยหรือไม่ป้องกันเลย
- ชุดผจญเพลิงให้การปกป้องในสถานการณ์ไฟไหม้ปกติเท่านั้น มันจะไม่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีสารเคมีรั่วไหลที่อาจต้องมีการสัมผัสกับสารโดยตรง
การอพยพ
หก
ดูตารางที่ 1 - ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
น้ำเท่านั้น ห้ามใช้สารเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Halon®
- ควบคุมไฟให้ลุกไหม้จำกัด ถ้าต้องผจญเพลิง แนะนำให้ฉีดน้ำเป็นฝอย
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
- เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงภัย
- การเคลื่อนย้ายท่อก๊าซชำรุดจะต้องทำภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
ถังที่มีไฟไหม้
- ผจญเพลิงจากระยะไกลหรือใช้สายฉีดน้ำที่ไม่ต้องมีคนถือ หรือใช้หัวฉีดที่มีระบบควบคุม
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- อย่าฉีดน้ำตรงรอยรั่ว หรืออุปกรณ์นิรภัย น้ำแข็งอาจจับได้
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
- กรณีเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ ให้ใช้สายฉีดน้ำที่ไม่มีคนถือ หรือใช้หัวที่มีระบบควบคุม หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้ถอยออกจากพื้นที่และปล่อยให้เพลิงสงบเอง
หกหรือรั่วไหล
- กรณีหกรั่วไหลที่ไม่มีไฟ ควรใช้ชุดป้องกันสารเคมีชนิดคลุมทั้งตัว และชุดป้องกันไอระเหยของสารเคมี
- ห้ามสัมผัสหีบห่อชำรุด หรือเดินผ่านสารที่หกรั่วไหล
- เก็บสารติดไฟ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ฯลฯ) ให้ห่างจากสารที่หกรั่วไหล
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดการระเหยไอ หรือเปลี่ยนทิศทางทำให้ไอลอยขึ้นไป อย่าให้น้ำสัมผัสกับสาร
- อย่าฉีดน้ำตรงที่รั่ว หรือรอยรั่ว
- ถ้าเป็นไปได้ ปล่อยให้ก๊าซรั่วดีกว่าให้ของเหลวรั่วออกมา
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
- กั้นเขตบริเวณที่มีก๊าซรั่วไหลจนกว่าก๊าซจะระเหยไปหมด
- ระบายอากาศบริเวณนั้น
การปฐมพยาบาล
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยกลืนกินหรือสูดดมสารเข้าไป อย่าใช้วิธีปากต่อปาก ช่วยให้หายใจด้วยหน้ากากชนิดที่มีทางเปิดด้านเดียวหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- เสื้อผ้าที่เย็นจนแข็งตัวจับผิวหนังต้องทำให้อ่อนตัวลงก่อนค่อยถอดออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและไม่ถูกรบกวน
- สังเกตอาการของผู้ประสบภัย
- ผลจากการสัมผัสหรือสูดดมอาจไม่เกิดทันที
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง