UN Number: 1715   Acetic anhydride

English

GUIDE 137 สาร - ทำปฏิกิริยากับน้ำ - กัดกร่อน
อันตรายที่อาจเกิดได้
สุขภาพ
- กัดกร่อน และ/หรือ เป็นพิษ; การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัส (ผิวหนัง ตา) กับไอ ฝุ่น หรือ สาร อาจเป็นอันตรายอย่างรุนแรง ไหม้ หรือตายได้
- ไฟจะก่อให้เกิดก๊าซที่ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
- ปฏิกิริยากับน้ำอาจทำให้เกิดความร้อนสูง ซึ่งจะไปเพิ่มความเข้มข้นของควันในอากาศ
- การสัมผัสสารหลอมเหลวอาจทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อตา
- น้ำจากการดับเพลิงหรือน้ำที่ทำให้เจือจาง อาจก่อให้เกิดมลพิษ
ไฟไหม้หรือระเบิด
- ยกเว้น ACETIC ANHYDRIDE (UN1715) ที่ติดไฟ, สารบางประเภทอาจลุกไหม้ได้แต่ไม่มีสารตัวใดติดไฟเลย
- อาจติดไฟได้ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน เสื้อผ้า ฯลฯ)
สารจะทำปฏิกิริยากับน้ำ (บางครั้งเกิดอย่างรุนแรง) ปล่อยก๊าซพิษ และ/หรือ ก๊าซที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และของเหลว
- ก๊าซไวไฟ/ก็าซพิษอาจสะสมอยู่ในพื้นที่จำกัด (ใต้ถุน ถัง รถขนส่งสาร  ฯลฯ)
- การสัมผัสกับโลหะอาจทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ
- ภาชนะบรรจุอาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน
- สารบางประเภทอาจถูกขนส่งในรูปของเหลว
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
- โทรศัพท์เรียกทีมฉุกเฉินตามเอกสารการขนส่ง ถ้าเอกสารการขนส่งไม่มีหรือไม่มีการตอบรับ, ตรวจสอบรายนามผู้ใช้โทรศัพท์จากปกหลังด้านใน
- มาตรการป้องกันที่ต้องทำทันทีคือ กั้นเขตบริเวณที่มีการหกรั่วไหลโดยรอบทันทีไม่น้อยกว่า 50 เมตร (150 ฟุต) สำหรับของเหลว และ ไม่น้อยกว่า 25 เมตร (75 ฟุต) สำหรับของแข็ง
- กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก
- อยู่เหนือลม
- ออกห่างจากบริเวณต่ำ
- ระบายอากาศบริเวณที่อับ
ชุดป้องกัน
- สวมเครื่องช่วยหายใจที่มีความดันเป็นบวก SCBA
- สวมชุดป้องกันสารเคมีที่ได้รับการแนะนำจากผู้ผลิตสารเคมี อย่างไรก็ดี ชุดดังกล่าวอาจป้องกันความร้อนเล็กน้อยหรือไม่ป้องกันเลย
- ชุดผจญเพลิงให้การปกป้องในสถานการณ์ไฟไหม้ปกติเท่านั้น มันจะไม่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่มีสารเคมีรั่วไหลที่อาจต้องมีการสัมผัสกับสารโดยตรง
การอพยพ
หก
ดูตารางที่ 1 - ระยะเขตอันตรายและเขตควบคุมป้องกัน สำหรับวัสดุที่เน้นสีไว้ สำหรับวัสดุที่ไม่ได้เน้นสี ให้เพิ่มระยะในทิศทางใต้ลม หากจำเป็น ระยะเขตอันตรายต้องเป็นไปตามหลัก "ความปลอดภัยในที่สาธารณะ"
ไฟไหม้
- ถ้าถังก๊าซ รถตู้ หรือรถบรรทุกติดอยู่ในกองเพลิง กั้นเขตรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์) พร้อมทั้งอพยพออกนอกรัศมี 800 เมตร (1/2 ไมล์)
การระงับอุบัติภัย
ไฟไหม้
- หากสารไม่ถูกไฟไหม้ ห้ามใช้น้ำฉีดที่สาร
ไฟไหม้ขนาดเล็ก
- ผงเคมีแห้ง หรือ คาร์บอนไดออกไซด์
- เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากที่เกิดเหตุ ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงภัย
ไฟไหม้ขนาดใหญ่
- ฉีดน้ำมาก ๆ บริเวณไฟไหม้ ขณะเดียวกันก็ลดการฟุ้งกระจายของไอด้วยละอองน้ำ ถ้ามีน้ำไม่พอก็เพียงแต่ลดการฟุ้งกระจายของไอเท่านั้น
ไฟไหม้ ถัง หรือ รถ/รถพ่วง
- หล่อเย็นภาชนะบรรจุ โดยฉีดน้ำปริมาณมาก ๆ จนกว่าเพลิงจะสงบ
- อย่าให้น้ำเข้าภายในภาชนะ
- ออกจากบริเวณทันทีที่อุปกรณ์นิรภัยระบายไอมีเสียงดังขึ้น หรือภาชนะบรรจุที่ไหม้เปลี่ยนสี
- อยู่ให้ห่างจากถังขณะไฟไหม้เสมอ
หกหรือรั่วไหล
- กรณีหกรั่วไหลที่ไม่มีไฟ ควรใช้ชุดป้องกันสารเคมีชนิดคลุมทั้งตัว และชุดป้องกันไอระเหยของสารเคมี
- อย่าสัมผัสภาชนะชำรุดหรือสารที่หกรั่วไหล นอกจากจะได้สวมชุดป้องกันที่เหมาะสม
- หยุดการรั่วไหล ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
- ใช้น้ำฉีดเป็นฝอยเพื่อลดการระเหยไอ อย่าฉีดน้ำลงตรงบริเวณที่หกรั่วไหล หรือภายในภาชนะบรรจุ
- เก็บสารติดไฟ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ฯลฯ) ให้ห่างจากสารที่หกรั่วไหล
การหกรั่วไหลขนาดเล็ก
- คลุมด้วยดินแห้ง ทรายแห้ง หรือวัสดุดูดซับอื่นที่ไม่ติดไฟและคลุมอีกชั้นด้วยแผ่นพลาสติคหรือผ้าใบกันน้ำ เพื่อกันไม่ให้เกิดการกระจายหรือเปียกฝน
- ใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อประกายไฟในการเก็บกวาดวัสดุดูดซับ และตักใส่ภาชนะพลาสติคปืดฝาหลวม ๆ  เพื่อรอการกำจัดต่อไป
- ป้องกันการไหลเข้าทางน้ำ ทางระบายน้ำ ใต้ดิน และพื้นที่ที่จำกัด
การปฐมพยาบาล
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังบริเวณที่อากาศบริสุทธิ์
- เรียก 911 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถหายใจเองได้ ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ถ้าผู้ป่วยกลืนกินหรือสูดดมสารเข้าไป อย่าใช้วิธีปากต่อปาก ช่วยให้หายใจด้วยหน้ากากชนิดที่มีทางเปิดด้านเดียวหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
- ให้อ๊อกซิเจน ถ้าหายใจไม่ออก
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปื้อนสารออก
- กรณีสัมผัสกับสาร ให้รีบล้างผิวหนังและตาด้วยน้ำที่ไหลตลอดเวลาอย่างน้อย 20 นาที
- ถ้าบริเวณผิวสัมผัสไม่มาก หลีกเลี่ยงการขยายวงไปถูกผิวส่วนอื่น
- การกำจัดสารเคมีที่หลอมเหลวแล้วแข็งตัวที่ผิวหนังต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
- ดูแลผู้ประสบภัยให้ได้รับความอบอุ่นและไม่ถูกรบกวน
- ผลจากการได้รับสาร (การสูดดม การกลืนกิน หรือสัมผัสผิวหนัง) อาจไม่เกิดทันที
- บอกแพทย์ ว่ามีสารอะไรเกี่ยวข้อง และระมัดระวังป้องกันตนเอง