สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อโรค: โรคพิษเรื้อรังจากสารหนู (Arsenic, chronic toxic effect)
กลุ่มโรค: อาการพิษ, โลหะหนัก (Poisoning, Heavy Metal)
เฉียบพลัน/เรื้อรัง: เรื้อรัง (Chronic)
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. ปี 2530 ประชาชนใน ต. ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ป่วยเป็นโรคไข้ดำ สาเหตุมาจากสารหนูสะสมอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ อันเป็นผลเนื่องมาจากการดื่มน้ำจากบ่อน้ำผิวดินที่มีการปนเปื้อนของสารหนู บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีสินแร่ดีบุกและมีการทำเหมืองแร่มาเป็นเวลานาน สำหรับปริมาณสารหนูปนเปื้อนในบ่อน้ำผิวดิน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.2-0.83 ppm และบ่อน้ำบาดาล มีค่าอยู่ระหว่าง 0.05-1.00 ppm สำหรับการศึกษาผลกระทบของสารหนูต่อสุขภาพ มีดังนี้ 1) ปี 2532 ธาดา เปี่ยมพงศ์และคณะ ทำการศึกษาผลกระทบเรื้อรังของสารหนูในผู้ป่วย  1,231 รายที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังอันเนื่องมาจากการดื่มน้ำปนเปื้อนสารหนู พบว่าระยะแฝงก่อนที่อาการของโรคปรากฎ (Latent period) ของโรคมะเร็งผิวหนัง เท่ากับ 6 เดือน โดยแบ่งระยะดังนี้ ระยะ 0 ผลการศึกษาไม่พบรอยโรคมะเร็งผิวหนัง แต่มีสารหนูในเล็บและเส้นผมปริมาณสูง ระยะ IA พบ pigmant บริเวณฝ่ามือ ระยะ IB พบตุ่มน้ำเท่าหัวหมุด ระยะ II พบตุ่มน้ำจำนวนมาก ระยะ III พบ Bowenoid เปลี่ยนแปลง ระยะ IV เกิด Epithelioma และ Bowen's disease และ Squamous cell carcinoma 2) ปี 2535 อรุณ รัตนปริคณน์ ทำการศึกษาหาสารหนูในเส้นผม เล็บ เลือด และปัสสาวะ ของสตรีขณะตั้งครรภ์ และน้ำนมหลังคลอดบุตรที่ ต.ร่อนพิบูลย์ จำนวน 104 ราย พบว่าระดับสารหนูสูงกว่าปกติในเส้นผม 21 ราย ในปัสสาวะ 18 ราย และตรวจพบสารหนูในน้ำนม 11 ราย และในบุตรที่กำเนิดจากสตรีเหล่านี้พบสารหนูในเส้นผม 14 ราย ในเล็บ 13 ราย และมีค่าสูงกว่าปกติ 6 ราย  และตรวจพบสารหนูจากสายสะดือ แสดงให้เห็นว่าเด็กมีโอกาสรับสารหนูระหว่างอยู่ในครรภ์มารดาและมีโอกาสรับเพิ่มขณะรับนมมารดา 3) ปี 2542 อัญชลี  ศิริพิทยาคุณกิจและอมรา ทองหงษ์  ศึกษาความสัมพันธ์ของการได้รับสารหนูเรื้อรังกับการเจริญเติบโตของเด็ก อ.ร่อนพิบูลย์ โดยการวิเคราะห์สารหนูในเส้นผมเด็กวัยเรียน อายุ 6-9 ปี  จำนวน 529 คน พบว่ามีสารหนูในเส้นผมอยู่ในช่วง 0.48-26.94 ppm ค่าเฉลี่ย 3.52 ppm  และพบว่าการได้รับสารหนูในขนาดต่ำอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดสะสมในเส้นผม  มีความสัมพันธ์กับความล่าช้าของพัฒนาการด้านส่วนสูงของเด็ก
    แหล่งอ้างอิง:สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ http://www.hiso.or.th
  2. ปี 2546 มีสำรวจจากประชากรจำนวน 2,791 คน ใน 21 จังหวัด ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อสารหนู โดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เก็บปัสสาวะและน้ำ เพื่อวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะเป็นค่า total arsenic จากการวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะ จำนวน 2,781 ตัวอย่าง พบว่า ค่ามัธยฐานสารหนูในปัสสาวะ เท่ากับ 39 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าสูงสุด 3,882 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าต่ำสุด 5 ไมโครกรัมต่อลิตร ตัวอย่างปัสสาวะส่วนใหญ่ (ประมาณ 26%) มีระดับสารหนูระหว่าง 36-70 ไมโครกรัมต่อลิตร  จากการวิเคราะห์สารหนูในน้ำดื่ม จำนวน 427 ตัวอย่าง พบสารหนูเกินมาตรฐาน 5 ตัวอย่าง (6%) ค่ามัธยฐานสารหนูในน้ำดื่ม 0.67 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่าสูงสุด 92.6 ไมโครกรัมต่อลิตร  ค่าต่ำสุด 0.001 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่ามาตรฐานสารหนูในน้ำดื่ม เท่ากับ 50 ไมโครกรัมต่อลิตร
    แหล่งอ้างอิง:http://www.bangkokhealth.com/test_site/healthnews_htdoc/healthnews_detail.asp?Number=1695

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].