สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: 2,4-D
CAS Number: 94-75-7
กลุ่มสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: สารกำจัดวัชพืช, คลอโรฟีนอกซี่ (Herbicides, Chlorophenoxy)
แหล่งกำเนิด/การใช้ประโยชน์: ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง  [EPA Pesticides, p. 94]
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. วันที่ 19 มี.ค. 2542 พบถังบรรจุสารเคมีขนาด 200 ลิตร มีสภาพผุกร่อนไม่มีสารเคมีหลงเหลืออยู่ 1 ถัง และถังที่มีสารเคมีบรรจุอยู่ 5 ถัง ขนาดบรรจุ 15 ลิตร ต้องสงสัยว่าเป็นสารเอเจนต์ออเรนจ์ (Agent Orange) ที่สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ถังมีข้อความและหมายเลขกำกับว่า "Delaware Barrel PAT NO 2842282, Tri-sure,American lange, NY" สารเอเจนต์ออเรนจ์เป็นสารผสมของสารเคมี 2 ตัวคือ 2,4-D และ 2,4,5-T ซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชในกลุ่ม chlorophenoxy herbicide ที่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ และจะทำให้เกิดอาการทางประสาทตามมา  ทำให้เกิดผื่นคัน  ทำลายเนื้อเยื่อตับและไต และยังเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogen) มีรายงานการทดลองในสัตว์พบว่า  สารกำจัดศัตรพืชกลุ่มนี้ทำให้เกิดมะเร็งและยังมีผลกระทบไปถึงลูกในรุ่นต่อไป  ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด  แม้ได้รับในปริมาณความเข้มข้นที่ต่ำ สำหรับสาร 2,4-D องค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสารอันตรายปานกลาง ที่เป็นสารกำจัดวัชพืชและสารที่ทำให้ใบไม้ร่วง  มีฤทธิ์ฉับพลันต่อคนคือ  ถ้าหากสูดดมเข้าไปจะทำให้ทางเดินหายใจ คือ คอ  จมูก และปอด  ปวดแสบปวดร้อน  ถ้าสัมผัสที่ตาจะทำให้ตาแดง  แสบตา  ถูกผิวหนังจะทำให้ผิวด่าง และหากสัมผัสมาก ๆ  จะทำให้เกิดอาการชักกระตุกของประสาทรอบนอก

    ส่วนสาร 2,4,5-T องค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสารอันตรายปานกลางและมีฤทธิ์ต่อพืชเช่นเดียวกับ 2,4-D  จากการทดลองในหนูทดลองพบว่า มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ฮอร์โมน testosterone ลดลงและทำให้ผู้ชายเป็นหมันได้ ประเด็นสำคัญคือ ทั้งในสาร 2,4-D  และ 2,4,5-T  มีสารประกอบสำคัญที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกคือ 2,3,7,8-tetrachlorodibenzo-p-dioxin (TCDD) หรือที่รู้จักกันในชื่อ dioxin เป็นสารก่อมะเร็งที่มีช่วงอายุนานหรือย่อยสลายยากในธรรมชาติ และ dioxin  นี่เองที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตของคนเวียดนามใต้อย่างมาก
    แหล่งอ้างอิง:หนังสือสารคดี ออนไลน์บนเว็บไซต์ http://www.sarakadee.com และฝนเหลืองรวบรวมจาก เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์ วารสารโลกสีเขียว ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม -มิถุนายน 2542 ออนไลน์บนเว็บไซต์ http://oho.ipst.ac.th

ค่าเฝ้าระวังด้านการสัมผัส

โรคที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีข้อมูล
แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].