สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ฐานข้อมูลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและสารเคมี

ชื่อสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: Lead
CAS Number: 7439-92-1
กลุ่มสารเคมี/สิ่งที่สัมผัส: ธาตุ, โลหะ (Elements, Metallic)
แหล่งกำเนิด/การใช้ประโยชน์: การทำเหมืองหรือการหลอมถลุง : ผลิตไอตะกั่ว โดยการหลอมขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่ประกอบด้วย ทองเหลือง ทองแดง และตะกั่ว และการรีไซเคิลดศษโลหะ การผลิต : แบตเตอรี่แบบตะกั่วและกรด แก้วคริสตัล ข้อต่อตะกั่ว ดีบุกผสมตะกั่ว ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก แก้วสีต่าง ๆ สีและหมึกพิมพ์ กระสุน ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า หลอมแก้ว ท่อ แผ่น แถบโลหะ สานเคเบิล หรือขั้วของตะกั่ว เซรามิก ใช้ผสมและถ่วงน้ำหนักผงตะกั่ว การนำไปใช้ : หลอม เชื่อม ตัด กลึง ขัดหรือพ่นทรายสีแบบเก่าที่ใช้กับบ้านและอาคาร (ก่อนปี ค.ศ. 1978) สะพาน เรือ หอคอยเหล็ก ถังน้ำ ถังปิโตรเลียมหรือถังใต้ดิน ไอตะกั่วหรือฝุ่นตะกั่วเกิดขึ้นจากการให้ความร้อน เจาะ หรือพ่นผลิตภัณฑ์ที่มีตะกั่ว ซ่อมหม้อน้ำรถยนต์ เตาผิงไฟ
ปรากฏการณ์ในประเทศไทย:
  1. ก.พ. 2545 ชาวบ้านใน จ.ราชบุรีมีอาการเจ็บป่วย วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งคาดว่าเกิดจากกลิ่นและควันจากการลักลอบเผาแบตเตอรี่รถยนต์เก่าเพื่อเอาตะกั่ว ในหมู่บ้านพุตะเคียน ม.8 ต.แก้มอ้น อ.จอมบึง จ.ราชบุรี จากการตรวจระดับตะกั่วในเลือดครั้งแรกจำนวน 24 ราย พบว่ามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 40.83?15.50 ?g/dl สูงกว่า 40 ?g/dl จำนวน 10 ราย และหลังจากการจับกุมและทำลายเตาหลอม 1 เดือน ทำการตรวจอีกครั้งจำนวน 69 ราย พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับตะกั่วในเลือด เท่ากับ 28.01?11.26 ?g/dl สูงกว่า 40 ?g/dl จำนวน 8 ราย นอกจากนี้ดินบริเวณที่มีการหลอมตะกั่ว พบว่ามีตะกั่วปนเปื้อนถึง 2,055.5 mg/kg และในพืช ผักบางชนิด พบการปนเปื้อนตะกั่วเกินกว่าค่ามาตรฐาน
    แหล่งอ้างอิง:หนังสือการสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข

ค่าเฝ้าระวังด้านการสัมผัส

แหล่งอ้างอิง
Jay A. Brown, M.D., M.P.H., January 2008. Haz-Map: Information on Hazardous Chemicals and Occupational Diseases [hazmap.nlm.nih.gov].