สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การอบยามอดแป้งสาลีและข้าวสาลี

1 ถ้าต้องการอบยามอดในโกดังให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดเราจะต้องใช้ยาอบมอดชนิดใด และมีขั้นตอนการทำอย่างไร
2. สาเหตุของการเกิดมอดคืออะไร
3.โกดังที่เหมาะสมกับการเก็บแป้งสาลีเพื่อไม่ให้เกิดมอดควรเป็นอย่างไร

โดย:  น้ำ   [30 ม.ค. 2552 14:11]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด สารเคมีในอาหาร-สารเจือปน สารปรุงแต่ง สารตกค้าง  /  สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช/สารเคมีทางการเกษตร  /  อื่น ๆ
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :1

แมลงศัตรูข้าวสารที่สำคัญได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais) ที่ทำลายข้าวสาร และมอดแป้ง (Tribolium castaneum) ที่เข้าทำลายในแป้งข้าว การป้องกันมักใช้การรมด้วยสารเคมี (fumigation) สารเคมีที่ใช้ เช่น  เมทิลโบรไมด์ (ถึงแม้เป็นสารนี้มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมแมลงศัตรูพืช แต่ในปัจจุบันมีข้อห้ามเนื่องจากทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ (WMO, 1995) และยังเป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นรวมทั้งคนและสัตว์เลี้ยง) สารเคมีอีกชนิดหนึ่ง คือ ฟอสฟีน (แต่อาจส่งผลให้แมลงมีความต้านทานต่อสารฟอสฟีนมากขึ้น รวมทั้งเป็นพิษต่อคนและสัตว์) มีอีก 1 แนวทางคือการใช้พืชธรรมชาติ เช่น โหระพา แมงลัก ข่า เป็นต้น ซึ่งพืชธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการไล่แมลง เท่านั้น

โดย:  รศ. ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  [3 ก.พ. 2552 11:06]
ข้อคิดเห็นที่ 1:4

อยากได้วิธีการอบยามอดในข้าวเพื่อมทำ Wi คะ

โดย:  pizza  [18 มิ.ย. 2552 16:13]
ข้อคิดเห็นที่ 2:5

การรมยาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูในผลิตผลเกษตร ปัจจุบันนิยมใช้สารฟอสฟีน เนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมือมากเท่าเมทิลโปรไมด์ และให้ผลในการกำจัดแมลงได้ดี แต่ต้องอาศัยความระมัดระวังในการรมมากพอควร เนื่องจากก๊าซทั้งสองชนิดเป็นก๊าซพิษที่มีอันตรายสูงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย ขั้นแรกของการรมฟอสฟีนต้องเตรีมอุปกรณืให้ฟอร้ม ได้แ สารฟอสฟีน(ของเยอรมันถึงจะดี) ผ้าพลาสติกที่มีความหนา 0.2-0.3 มม.ซึ่งก๊าซผ่านไม่ได้ ถุงทราย (sand snake) สำหรับทับชายผ้าพลาสติก วิธีการรม ต้องปูผ้าที่พื้น (floor sheet) ก่อนวางผลผลิตเกษตร คลุมด้วยผ้าพลาสติก ใส่สารรมฟอสฟีนตามอัตราในกระทงกระดาษ อัตราที่แนะนะประมาณ2-3 เม็ดต่อตัน ม้วนชายผ้าโดยม้วนที้ผ้าปูพ้นและผ้าคลุมเข้าด้วยกันแล้วทับด้วยถุงทราย โดยกองที่รมต้องมั่นใจว่าก๊าซไม่รั่วออกมา ทิ้งไว้ 7 วัน เปิดกองออก ทิ้งไว้ 2 วันจึงสามารถนำมาบริโภคได้ แนะนำให้เข้าไปขอคำแนะนำที่กรมวิชาการเกษตร ที่สำนักวิจัยวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว หรือจะจ้างบริษัทที่รับรมยาก็ได้

โดย:  ผู้เชี่ยวชาญ  [30 ส.ค. 2552 13:02]
ข้อคิดเห็นที่ 3:6

เครื่องมือวัดในงานรมยากำจัดแมลงศัตรูพืช
Methyl Bromide , Phosphine for Fumigation Monitoring and Gas leak Detector , Gas detector tube, gas strip, gas monitoring, dosimeter
>>>please visit www.polysource.co.th
email : agas@polysource.co.th
Tel.+66(0)2-9792982-3
Fax.+66(0)2-9792984

โดย:  Tidarat  [15 ก.ย. 2554 14:49]
ข้อคิดเห็นที่ 4:7

รับบริการรมยากำจัดแมลงในวัตถุดิบอาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์ อาหาร  เมล็ดพันธุ์ ไซโล  โกดังข้าว เครื่องจักร  และจำหน่ายอุปกรณ์ในการรมยา  แนะนำวิธีการรมยา  ยินดีให้คำปรึกษาเพิ่มเติม  โทรมานะครับ  สันติ  089-453-7536 / 089-811-2523

โดย:  สันติ OMG.  [10 ม.ค. 2558 18:03]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้