|
ข้อคิดเห็นที่
1:![]() คุณ Sujittra ทำให้ผมได้ความรู้ไปด้วยครับ ผมไม่แน่ใจว่าคำถามของคุณนั้น สามารถหาคำตอบได้จาก http://www.cirs-reach.com/news/the_differences_between_the_4th_revised_un_ghs_eu_clp_regulation_and_china_ghs_summarized_by_cirs.html รึเปล่าครับรบกวนลองๆอ่านดูก่อนนะครับ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิครับ กรุณาแสดงความเห็นด้วยครับ จักเป็นพระคุณยิ่ง โดย: Prasit [18 มิ.ย. 2556 16:24] |
ข้อคิดเห็นที่
1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() ข้อมูลที่คุณประสิทธิ์ให้มาอ้างอิงได้และถูกต้องแล้วครับ แต่จะอ่านแล้วเข้าใจต้องมีความรู้พื้นฐาน GHS นะครับ ผมขอสรุปสั้นๆดังนี้ 1. ก๊าซไวไฟมีการจำแนกประเภทย่อยเป็น ก๊าซที่ไม่เสถียร 2. ละอองลอยไวไฟ เปลี่ยนเป็นละอองลอย โดยเพิ่มประเภทย่อยที่ไม่ไวไฟเข้าไป 3. ละอองลอยไม่ถือเป็นก๊าซภายใต้ความดันอันนี้แค่ชี้แจงเพิ่มเติม 4. หากมีสารกัดกร่อนต่อโลหะแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่กัดกร่อนต่อผิวหนังหน่วยงานที่รับผิดชอบ(บ้านเราคือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) สามารถออกข้อกำหนดยกเว้นการติดฉลากกัดกร่อนบนภาชนะบรรจุสำหรับผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคได้ครับ 5. อย่างอื่นปรับนิดหน่อยเรื่องเกณฑ์การจำแนกและค่าจุดตัดของสาร CMR ครับ ประมาณนี้ครับโดยรวมๆ โดย: เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ [27 มิ.ย. 2556 20:36] |