|
ข้อคิดเห็นที่
2:![]() ขอตอบละเอียดนิดนึงนะครับ ผมเข้าใจว่าผู้ถามอาจจะยังไม่ทราบเชิงลึกเกี่ยวกับ UN 1950 ครับ โดยปกติแล้วสารเคมีที่เป็น Aerosols หรือเราเรียกภาษาไทยว่าละอองลอย นั้น ถ้าเรียกบ้าน ๆ พวกเรามักจะเรียกว่า สเปรย์กระป๋อง จัดเป็นสินค้าอันตราย ประเภท Class 2 หรือ ก๊าซ ครับ ซึ่ง UN 1950 จะใช้กับสารที่เป็นละอองลอยทุกประเภท แต่มักจะอัดก๊าซใส่ไว้ในกระป๋องขนาดเล็ก ๆ เพื่อการใช้ในบ้านเรือนเป็นหลัก ตัวอย่างสารเหล่านี้คือ สเปรย์ปรับอากาศ สเปรย์สีพ่น สเปรย์ยาฆ่าแมลง โฟมโกนหนวด และอื่น ๆ อีกเพียบ UN 1950 มีการแบ่งย่อย ประเภทความเป็นอันตรายได้หลายตัว ขึ้นอยู่กับก๊าซที่อัดเข้าไปเป็นก๊าซขับดัน ในระบบสากลแบ่งตามลักษณะอันตรายดังนี้ Division 2.1 ก๊าซไวไฟ เช่น สเปรย์สีพ่น Divisiion 2.1 (6.1) ก๊าซไวไฟที่เป็นพิษ เช่น สเปรย์ยาฆ่าแมลง Division 2.1 (8) ก๊าซไวไฟที่กัดกร่อน Division 2.1 (6.1, 8) ก๊าซไวไฟที่เป็นพิษและกัดกร่อน Division 2.2 ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) (ไม่มีอันตรายอื่น ๆ นอกจากแรงดัน) Division 2.2 (6.1) ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) แต่เป็นพิษ เช่น ก๊าซน้ำตา Division 2.2 (8) ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) แต่กัดกร่อน Division 2.2 (6.1, 8) ก๊าซอัด (ไม่ไวไฟ) แต่เป็นพิษและกัดกร่อน Division 2.2 (5.1) ก๊าซอัดที่ให้ออกซิเจน Division 2.3 ก๊าซพิษ เช่น สเปรย์ยาฆ่าแมลงครับ แต่ไม่ไวไฟ Division 2.3 (2.1) ก๊าซพิษ ที่ไวไฟ จะเห็นได้ว่ามีลักษณะอันตรายเยอะครับ คงต้องทำความชัดเจนกับสารที่เราอยากจะหาข้อมูลก่อนถึงจะได้มากซึ่ง MSDS ที่ถูกต้องครับ ถ้าคิดไม่ออกให้โทรหาผู้ผลิตเพื่อของ MSDS เลยดีกว่าครับ ชัวร์ และตรงกับลักษณะอันตรายของสารมากที่สุดครับ โดย: เฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ [31 ต.ค. 2556 10:55] |