|
ข้อคิดเห็นที่
2:![]() เรียน คุณติ๊กต๊อก ผมต้องขอขอบคุณในคำถามนี้ ซึ่งการค้นข้อมูลต่อเนื่องจากคำถามนี้ทำให้ผมได้ทราบเรื่องอื่นๆเพิ่มเติมอีกมากเลยครับ โดยสรุปเลยนะครับ 1. คลอโรฟิลล์สามารถละลายได้ดีในAcetone การสกัดโดยใช้ Acetone จึงเหมาะสมครับ 2. อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการวิเคราะห์ด้วยวิธี Spectrophotometry โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความยาวช่วงคลื่นประมาณ 220-300 nm. แล้วล่ะก็ Acetone ก็สามารถดูดกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นช่วงดังกล่าวได้ด้วย โดยดูกลืนได้สูงสุดประมาณ 0.25 AU ( http://www.isco.com/WebProductFiles/Applications/101/Application_Notes/AN20_Acetone_as_an_Alternative_to_Ethyl_Acetate.pdf) ซึ่งอาจรบกวนผลการทดลองได้ 3. ผมพบการทดลองอีกมากมายที่ใช้ Acetone ในการสกัดสารจากพืช อย่างไรก็ตามผมยังหาข้อมูลการดูดกลืนคลื่นแสงของ Diethyl ether ไม่ได้ แต่ ผมคาดเดาเอาว่ามันน่าจะไม่ดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลที่ต้องแยกให้คลอโรฟิลล์ลงมาอยู่ในชั้นของ Diethyl ether แทนครับ คุณติ๊กต๊อกลองหาข้อมูลดูนะครับ มีข้อมูลสนับสนุนมากมายเลยครับ ได้ความรู้อื่นๆเพิ่มเติมอีกด้วย ขอแสดงความนับถือ Prasit โดย: Prasit [16 พ.ค. 2557 15:40] |
ข้อคิดเห็นที่
3:![]() ถามว่าสารเคมีในการละลายของใบพืชจะต้องใช้สารอะไรบ้าง โดย: รุ่งนภา เอืมสี [5 พ.ย. 2558 10:46] |