|
ข้อคิดเห็นที่
1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() 1.ดูตามค่า Thai BEI เลยครับ ตาม link นี้ http://pr.ddc.moph.go.th/pakard/showimg4.php?id=1334 มีคำอธิบายว่่าต้องตรวจอะไรบ้าง ความจริงค่านี้ยังมีข้อถกเถียงกันเยอะ แต่่ก็ไม่มีอะไรดีกว่า 2. ควรตรวจ SDS มักไม่บอกชัดว่าเสี่ยงมะเร็งอะไร ควรดูในตารางของ IARC ซึ่งเป็นมาตรฐานโลก(ไม่เหมือนข้อ1) https://monographs.iarc.fr/wp-content/uploads/2018/07/Table4.pdf แล้วตรวจตามนั้นเลย อาจปรึกษาแพทย์ว่าต้องตรวจอย่างไร วิธีดูให้เสริ์ชสารเคมีของคุณในช่องกลางแล้วดูอวัยวะที่ตรวจด้านซ้ายสุด โดย: Pibool Issarapan [12 ก.ย. 2561 10:21](แก้ไขล่าสุด: 12 ก.ย. 2561 10:22) |
ข้อคิดเห็นที่
2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() ปกติการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง ตรวจได้ 2 แบบ 1. ตรวจหาการสัมผัส ( exposure ) เพื่อดูว่า ได้รับสารนั้นเข้าไปในร่างกายแล้วหรือยัง (วิธีการตามคำแนะนำของข้อคิดเห็น ที่ 1) ซึ่งอาจจะยังไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่่สารนั้นเข้าไปร่างกายแล้ว วิธีการตรวจก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสารนั้น ค่าครึ่งชีวิต ( half life) และการแปลงสภาพในร่างกาย เป็นต้น 2. การตรวจผลที่เกิดกับสุขภาพ ( health effects) หากได้รับสารนั้นไปนานๆ จนเกืดผลต่ออวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง อาจจะตรวจดูการทำงานของหน้าที่อวัยวะนั้น เช่น การตรวจตับ หาค่า SGOT, SGPT ฯลฯ โดย: ดร.แสงโฉม ศิริพานิช [18 ก.ย. 2561 12:25] |