|
ข้อคิดเห็นที่
1:![]() คำตอบนี้ สำหรับ คุณน้ำยม และ ผู้ถามอื่นๆ ที่เข้ามาถามคำถามลักษณะเดียวกัน โดยเป็นคำตอบ เชิง วิธีคิด และ จิตวิทยา มากกว่าเชิงวิชาการ ( และ โดยไม่สนใจว่า สาร TCSAN 99 KC นั้น คืออะไร ) - - - > ผลิตภัณฑ์ หรือ สินค้า ใดๆ ที่ สามารถผลิตและจำหน่ายได้แบบถูกกฎหมาย ก็สามารถใช้ได้ทั้งนั้นแหละครับ โดยใช้ตามคำแนะนำที่ให้มากับผลิตภัณฑ์ หรือสินค้านั้นๆ ( อ่านแล้วหรือยัง ) รวมทั้ง ดู ข้อห้ามและคำเตือนที่บอกไว้ด้วย เพราะ ถ้าใช้และปฏิบัติตาม คำแนะนำ ข้อห้าม และ คำเตือน แล้ว ก็ไม่ควรเกิดปัญหาหรือได้รับอันตราย แต่ถ้าเกิดปัญหาใดๆจริง ( ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า ซวยสุด ๆ ) เราก็จะได้รับการคุ้มครอง ( ตามกฎหมาย หรือ ตามเงื่อนไขอื่นๆ ) ถ้าคุณไม่กล้าเชื่อในสิ่งที่ผู้ขายบอก คุณจะกล้าเชื่อในสิ่งที่ผมหรือคนอื่นๆ ( ซึ่งคุณก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ) พิมพ์บอกคุณในเว็บไซต์นี้หรือ ? ถ้าตัดสินใจได้ยากเหลือเกิน ก็ ลอง ใช้ แอลกอฮอล์ 70 % ของ องค์การเภสัชกรรม ดูสิครับ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือ เคาน์เตอร์จำหน่ายยาตามห้างสรรพสินค้า ( ร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น ก็อาจมีขาย ) และ ถ้า อยากใช้ วิธี แปลกๆ แบบที่ คนทั่วไป ไม่ทำกัน ( แต่ไม่น่ากลัว สำหรับ คนแบบคุณ ) ควรลองใช้ แชมพูขจัดรังแค สูตรที่เป็นสีขาวขุ่นแต่ใช้แล้วไม่เย็นซ่า ทำความสะอาดผิวหนัง ( ใช้เหมือนสระผม แล้วล้างออก ) ก็ได้ผลเหมือนกัน โดย: นักเคมี [10 พ.ค. 2551 16:11] |
ข้อคิดเห็นที่
2:![]() ขอบคุณครับคุณนักเคมีที่กรุณาตอบคำถาม แต่อันที่จริงเรื่องสารค่าเซื้อที่ผมถามไม่ได้มากับผลิตภัณฑ์ใดๆทั้งสิ้น เพราะถ้ามากับผลิตภัณฑ์ผมคงไม่สงสัย เพียงแต่ที่ต้องการคำแนะนำด้านสารฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับผิวหนังโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเพราะว่าต้องการศึกษาเกี่ยวกับทางด้านสารฆ่าเชื้อครับ โดย: น้ำยม [10 พ.ค. 2551 20:38] |
ข้อคิดเห็นที่
3:![]() คงจะเห็นแล้วว่า ถ้าคำถามไม่ชัดเจน คำตอบก็ไม่ตรงประเด็นไปด้วย ขอนำเสนอ หลักการเลือก สารฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับผิวหนังโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ( พร้อมเหตุผล ) ดังนี้ ไม่ควรเป็น สารที่ระเหยง่าย ( จะได้อยู่บนผิวหนังนานๆ และ จะได้ไม่มีกลิ่นมากถึงขั้นระคายเคืองจมูกและทางเดินหายใจ ) ไม่ควรเป็น สารที่เสื่อมสภาพเมื่อสัมผัสอากาศ ( จะได้อยู่ออกฤทธิ์ ได้นานๆ ) ไม่ควรเป็น สารที่ละลายได้ดีในไขมัน ( จะได้อยู่บนผิวหนังโดยไม่ซึมผ่านเข้าไป ซึ่งถ้าซึมผ่านได้ ก็จะไม่อยู่ช่วยปกป้องผิวหนัง และมักจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่ใต้ผิวหนัง ) ไม่ควรเป็น สารที่มี ความเป็นกรด หรือ ความเป็นด่าง แตกต่างจากผิวหนังมาก ( ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ ) ไม่ควร ดึงดูด มด และ แมลง อื่นๆ ( จนมา ตอม กัด ทำให้รำคาญ ) ไม่ควร เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ( ทีอาจ ดมหรือเลีย ที่ผิวหนัง ) ควร ล้างออกได้ ด้วย สบู่ หรือ แชมพู ฯลฯ โดย: นักเคมี [11 พ.ค. 2551 00:32] |
ข้อคิดเห็นที่
1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() สาร TCSAN 99 KC นี้ผมไม่ทราบว่าชื่อเคมีเป็นอะไร ส่วนสารเคมีที่ล้างมือได้ก็มี Alcohol70% สำหรับการล้างมือ อย่างแห้ง คือไม่ใช้น้ำ ถ้าล้างด้วยน้ำก็จะเป็นสบู่ผสมยาฆ่าเชื้อ เช่น Chlorhexidine, Povidone Iodine หรือแม้แต่สบู่ธรรมดา ก็ได้ถ้างานนั้นไม่ต้องการความสะอาดมากนัก โดย: นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค [13 พ.ค. 2551 06:49] |
ข้อคิดเห็นที่
4:![]() ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบ และคำแนะนำนะครับ โดย: น้ำยม [13 พ.ค. 2551 10:37] |