|
ข้อคิดเห็นที่
1:![]() “ น้ำ “ ที่รั่ว-หก จากแบตเตอรี่ ตามที่บรรยายในคำถามนี้ เป็น “ น้ำกรด “ ( ไม่ใช่ “ น้ำกลั่น “ ) และ ชื่อของคำถามนี้ ควรจะเป็น “ น้ำกรด ในแบตเตอรี่รถยนต์เก่า หก-รั่ว “ เหตุการณ์ที่เกิดตามคำถามนี้ เป็นอุทาหรณ์ สำหรับ “ คุณวัชรพล “ และ ผู้อ่าน ว่า เมื่อ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ ควร ทิ้ง แบตเตอรี่ลูกเก่าที่เปลี่ยนออก ให้ร้านแบตเตอรี่หรือศูนย์บริการนำไปส่งกำจัด ไม่ควรวาง แบตเตอรี่รถยนต์ ประเภท ตะกั่ว - กรด ที่ต้องเติมน้ำกลั่น ซึ่งมีการเติมน้ำกรดไปแล้ว ในลักษณะนอนตะแคง ( เพราะฝาปิดแบตเตอรี่ประเภท ตะกั่ว - กรด ที่ต้องเติมน้ำกลั่น มีรูเล็กๆ เพื่อระบายก๊าซที่เกิด ในการชาร์จไฟครั้งแรก และในการชาร์จไฟระหว่างการใช้งาน น้ำกรดสามารถรั่วจากรูเหล่านี้ ) คำอธิบายเหตุการณ์ที่เกิด แบตเตอรี่รถยนต์ ลูกเก่าที่เปลี่ยนออกและวางไว้ท้ายรถในลักษณะนอนตะแคง ยังมีกรดกำมะถันเหลืออยู่ และ รั่วไหลออกมา กลิ่นเปรี้ยว ในห้องโดยสาร เป็น กรดอินทรีย์ระเหยง่าย ที่เกิดจาก ปฏิกิริยา ระหว่าง กรดกำมะถันที่รั่ว-ไหลจากแบตเตอรี่ กับ วัสดุที่อยู่ในท้ายรถ ( เช่น ผ้า พรม กระดาษ พลาสติกบางชนิด ) สิ่งที่ “ คุณวัชรพล “ ควรทำ นำแบตเตอรี่เก่าไปส่งให้ที่ร้านหรือศูนย์บริการที่ขายแบตเตอรี่ใหม่ให้ ล้างทำความสะอาดท้ายรถ เพื่อล้างกรดที่ตกค้างอยู่ให้หมด ถ้ายังมีกลิ่นเปรี้ยว ในห้องโดยสาร ควรใช้ สำลี ชุบ แอมโมเนียหอม ( หาซื้อได้จากร้านขายยา ) ใส่ถ้วยวางทิ้งไว้ในรถ ในขณะที่ไม่ใช้รถ และ รอคำตอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ ( ซึ่งผมมั่นใจว่า จะกรุณามาตอบ ) เรื่อง ผลของการดมกลิ่นเปรี้ยว นานๆ หลายวัน โดย: นักเคมี [19 พ.ค. 2551 19:06] |
ข้อคิดเห็นที่
1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() เครียดเลยครับ ปัญหานี้ต้องนับเป็นอุทาหรณ์จริง ๆ อย่างที่คุณนักเคมีว่านะครับ เป็นไปได้ว่าคุณวัชรพลคงเป็นผู้ที่ดูแลรถเป็นอย่างดี และได้มีการเติมน้ำกลั่นให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ของตัวเองอยู่สม่ำเสมอ เลยคิดว่าน้ำที่อยู่ภายในแบตเตอรี่เป็นน้ำกลั่นนะครับ แต่ก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะตอนนี้ก็รู้แล้วว่าความรุนแรงของน้ำกรดกำมะถันเป็นอย่างไร ส่วนเรื่องของการสูดดมไปนาน ๆ ก็น่าเป็นห่วงอยู่ครับ ผมพยายามลองค้นหาดูว่าผู้รู้เขาพูดกันอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการสูดดมไอกรดนี้เข้าไปนาน ๆ ส่วนใหญ่ก็บอกตรงกันว่าจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และปอด เนื่องจากเป็นกรดที่มีความสามารถในการกัดกร่อนสูง และหากรับเข้าไปมาก ๆ ก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้นะครับ แนะนำว่าควรแก้ไขด่วน ๆ ๆ ๆ ที่สุดเลยครับ โดย: supersert [23 พ.ค. 2551 00:51] |
ข้อคิดเห็นที่
2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ ![]() ![]() อย่างที่ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองท่านได้ว่าไว้ ปัญหาอยู่ที่ไอระเหยของกรดกำมะถันกับ กรดอื่นๆ ที่เป็นผลจากปฏิกริยาเคมี อันตรายที่มีแน่นอนคือการระคายเคืองของทางเดินหายใจ ที่พบบ่อยก็คือหลอดลมอักเสบ และหอบหืด แต่อันตรายเหล่านี้เป็นผลชั่วคราวเว้นแต่จะสูดเป็นเวลาหลายๆ เดือน จนเกิดผังผืดที่เนื้อปอด จึงควรถอดพรมและวัสดุต่างๆมาล้างให้สะอาด และต้องล้างมือให้สะอาดเพื่อไม่ให้ติดสารตะกั่วที่อาจละลายอยู่ โดย: นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ กรมควบคุมโรค [23 พ.ค. 2551 07:59] |
ข้อคิดเห็นที่
2:![]() ขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลามาให้ความรู้ครับ โดย: วัชรพล [6 ส.ค. 2551 12:12] |
ข้อคิดเห็นที่
3:![]() http://en.wikipedia.org/wiki/Car_battery Car Battery http://en.wikipedia.org/wiki/Battery_recycling Battery Recycling http://en.wikipedia.org/wiki/Lead-acid_battery Lead-Acid Battery http://www.batterycouncil.org/LeadAcidBatteries/BatteryRecycling/tabid/71/Default.aspx Battery Recycling http://www.batterycouncil.org/LeadAcidBatteries/tabid/54/Default.aspx Lead-Acid Battery โดย: นักเคมี [12 ม.ค. 2552 17:31] |
ข้อคิดเห็นที่
5:![]() มีทั้งน้ำกรด และน้ำกลั่นที่เติมภายหลัง มีสารกำมะถัน ตะกั่ว โลหะหนัก เหม็ดเปรี้ยว สูดดม มีผมแน่นอน อัตรายครับ โดย: ทัศนัย [5 พ.ย. 2562 10:28] |
ข้อคิดเห็นที่
7:![]() น้ำกลั่นที่เติมเกินขีดที่กำหนดสามารถดูดและเททิ้งได้เลยไหมครับ โดย: พงษ์คณิช [23 ก.พ. 2564 09:22] |
ข้อคิดเห็นที่
8:![]() น้ำกรดแบตเตอรี่จะกำจัด ทิ้งอย่างไร โดย: ธนกฤต [13 ก.พ. 2565 14:26] |