สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
ถาม-ตอบ

การจัดการเรื่องการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตรายใครพอจะบอกได้ไหมว่าเราจะแยกว่าเป็นวัตถุอันตรายได้จากไหน

พอดีอ่านข้อกฏหมายแล้วไม่สามารถแยกเคมีในโรรงงานตัวเองได้ค่ะ

โดย:  รัชนี   [20 ธ.ค. 2555 11:38]
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับวัตถุอันตราย  /  การจัดการความปลอดภัย  /  การจำแนกประเภทและการติดฉลาก
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

ดูจากเอกสาร MSDS ฉลากกำกับ เครื่องหมายความปลอดภัยหรือสอบถามจากผู้จำหน่าย ง่ายที่สุดครับ คือการรู้อันตรายของสารเคมีควรจะเกิดขึ้นก่อนที่เราจะนำเข้ามาใช้หรือนำเข้าสู่โรงงานนะครับ การซื้อมาก่อนแล้วใช้โดยไม่ทราบความเป็นอันตรายเป็นความเสี่ยงที่สูงมากครับ

โดย:  ชินวุฒิ หจก.อินทิเกรท ซายน์  [25 ธ.ค. 2555 09:45]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :2

การจำแนกความเป็นอันตรายเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้า  ปัญหาที่มักจะตามมาคือผู้ใช้งานที่ไม่ใช่ผู้ผลิตยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในการจำแนก  โดยหลักสากลแล้ว การจำแนกประเภทเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หลายอย่าง เช่น การสื่อสารความเป็นอันตราย การขนส่ง และการจัดเก็บ  ซึ่งในโลกใบนี้มีการจำแนกหลายรูปแบบตามประเทศต้นกำเนิดของสารเคมีนั้น ๆ

การจัดเก็บสารเคมีก็เช่นกัน  ณ ปัจจุบันสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแนวคิดของการจัดการและจัดเก็บ  โดยที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้ออกคู่มือการเก็บรักษาวัตถุอันตรายขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทาง  แต่คู่มือนี้อ้างอิงมาตรฐานการจัดเก็บของประเทศเยอรมันซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานการจำแนกการสารเคมีก่อนที่จะดำเนินการจัดเก็บได้ตามนั้น  

หลักกการจัดเก็บพื้นฐานสามารถแบ่งได้สองมุมมอง  มุมมองแรกจะเน้นไปในเรื่องของโครงสร้างและระบบด้านความปลอดภัยของสถานที่จัดเก็บ  มุมมองที่สองจะเน้นเรื่องของการจัดการ โดยผ่านการจำแนกของสารเคมีที่เหมาะสม และดำเนินการจัดการเก็บ คัดแยก และวางเก็บตามประเภทของสารเคมีที่จำแนกไว้

การจำแนกได้โดยละเอียดตามข้อกำหนดไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของการจำแนกสารเคมีบ้าง  สามารถไปหาสถานที่ฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติมได้  แต่ถ้าอยากทำให้ง่ายอาจว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาดำเนินการให้ก็ได้ครับ  

อีกระบบการจำแนกหนึ่งที่ไม่ได้ระบุไว้ในคู่มือแต่สามารถดำเนินการจัดเก็บได้เช่นกันคือการจำแนกตามระบบขนส่งสินค้าอันตราย  เปรียบเสมือนการจัดเก็บสินค้าอันตรายในตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ  การจัดวางตู้คอนเทนเนอร์บนเรือเดินทะเล ประมาณนั้นครับ  

ลิงค์สำหรับเว็บไซด์ดาวน์โหลดคู่มือ ดังข้างล่างนี้ครับ
http://eis.diw.go.th/haz/Doc/ManualK.pdf

โดย:  นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์  [2 ม.ค. 2556 11:27]
ข้อคิดเห็นที่ 2:3

อยาก ทราบว่า การบรรจุเคมีเข้าตู้containerเพื่อส่งออกหรือนำเข้า มีข้อกำหนดไหม ครับ เช่น ในหนึ่งตู้containerสามารถบรรจุได้กี่ชนิด (นอกจากดูแล้วว่าสามารถเก็ขด้วยกันได้) เบอร์โทรผม ครับ0819374350 หรือขอเบอร์โทรของคุณ

โดย:  ชัยยงค์ บรรณพิชญ์  [18 เม.ย. 2565 16:51]
หากท่านต้องการถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคำถามนี้ กรุณากดปุ่มนี้

หากท่านต้องการแสดงข้อคิดเห็นหรือแสดงความคิดเห็นที่อยู่ในประเด็นเดียวกับหัวข้อนี้ ให้กรอกข้อมูล แล้วกดปุ่มส่งข้อความด้านล่างนี้