คำถาม การจัดเก็บสารเคมีแยกตามลักษณะอันตรายของ UN มีหลักเกณฑ์อย่างไร
คำตอบ ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) ในส่วนที่ 7 (Handling and storage) แสดงข้อควรระวังในการจัดเก็บสารเคมี ได้แก่ สภาวะแวดล้อมที่ควรหลีกเลี่ยง และสารเคมีที่ไม่ควรเก็บรวมกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการพิจารณาในการจัดเก็บสารเคมีที่ผู้ใช้และครอบครองสารเคมีควรรู้ แต่นอกจากข้อมูลที่แสดงในส่วนที่ 7 นี้นั้น ยังมีข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเพิ่มเติม นั้นคือข้อมูลในส่วนที่ 14 (Transport information) แสดงข้อมูลการจำแนกสารเคมีตามลักษณะอันตรายของสหประชาชาติ หรือ UN class ซึ่งมีความหมายดังนี้
Class 1 หมายถึง สารระเบิดได้
Class 2 หมายถึง ก๊าซ
Class 2.1 หมายถึง ก๊าซติดไฟได้
Class 2.2 หมายถึง ก๊าซไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ
Class 2.3 หมายถึง ก๊าซพิษ
Class 3 หมายถึง ของเหลวติดไฟได้
Class 4 หมายถึง ของแข็งติดไฟ
Class 4.1 หมายถึง ของแข็งติดไฟ
Class 4.2 หมายถึง วัตถุที่มีแนวโน้มเกิดการเผาไหม้ได้เอง
Class 4.3 หมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วเกิดก๊าซติดไฟได้
Class 5 หมายถึง สาร Oxidizing และ Organic peroxides
Class 5.1 หมายถึง Oxidizing agents
Class 5.2 หมายถึง Organic peroxides
Class 6 หมายถึง สารพิษและสารติดเชื้อ
Class 6.1 หมายถึง สารพิษ
Class 6.2 หมายถึง สารติดเชื้อ
Class 7 หมายถึง สาร/วัตถุกัมมันตรังสี
Class 8 หมายถึง สารกัดกร่อน
Class 9 หมายถึง สารอันตรายอื่นๆ
แม้ว่าข้อมูลในส่วนที่ 14 นี้เป็นข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการขนส่ง แต่สามารถนำมาใช้ในการจำแนกสารเคมีเพื่อการจัดเก็บเช่นเดียวกับการจำแนกสารเคมีโดยระบบอื่น โดยที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดมาตรฐานในการแยกเก็บสารเคมีแยกตาม UN class ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การแยกเก็บสารเคมีตามประเภทของสารเคมีอันตราย
หมายเหตุ
NA หมายถึง สามารถจัดเก็บบริเวณเดียวกันได้
SG หมายถึง ต้องแยกจากกันอย่างน้อย 3 เมตร
FS หมายถึง เก็บแยกจากกันหรือห่างกันอย่างน้อย 5 เมตร
PR หมายถึง ห้ามอยู่ใกล้เคียงกัน ต้องแยกจากกันอย่างน้อย 10 เมตร
แหล่งอ้างอิง :
กรมประมง - www.fisheries.go.th
Murdoch University - Division of Science and Engineering www.dse.murdoch.edu.au
|