มีการกล่าวอ้าง (โดยไม่มีข้อมูลหรือบันทึกยืนยันที่ชัดเจน) ว่า มีการทำไข่เยี่ยวม้าครั้งแรกในประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์หมิง (มากกว่า 600 ปี มาแล้ว) โดยชาวบ้านในมณฑลหูหนาน พบว่าไข่ดิบที่ถูกกลบอยู่ในบ่อปูนขาว ประมาณ 2 เดือน มีกลิ่นรสเฉพาะตัว และสามารถนำมารับประทานได้ จึงได้ทดลองและพัฒนาวิธีทำไข่เยี่ยวม้าขึ้น

ภาพไข่เยี่ยวม้า ที่ทำจากกรรมวิธีแบบดั้งเดิมของจีน ใช้วิธีการเคลือบไข่ด้วยโคลน ซึ่งผสมจากน้ำชา - เกลือ - ขี้เถ้าไม้ - ปูนขาว - ดินเหนียว และพอกด้วยแกลบ (เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่แต่ละใบติดกัน) ชื่อไข่เยี่ยวม้าในภาษาจีน คือ 皮 蛋 อ่านว่า ผี ต้าน แปลว่า ไข่ที่มีหนังหุ้ม (Leather / Skin Egg)

ภาพไข่เยี่ยวม้า ที่ปอกเปลือกให้เห็นลวดลายที่ผิวไข่ขาว ซึ่งเกิดจากกรรมวิธี / เทคนิคพิเศษ ในการทำไข่เยี่ยวม้าลวดลายนี้ มีลักษณะคล้ายกิ่งใบสน (Pine Branch Pattern) ทำให้ไข่เยี่ยวม้ามีชื่อเรียกในภาษาจีนอีกชื่อหนึ่ง ว่า 松 花 蛋 อ่านว่า สง ฮวา ต้าน แปลว่า ไข่ลายสน (Pine - Patterned Egg)
ในเวลาต่อมาเมื่อมีความรู้ความเข้าใจด้านเคมีมากขึ้น และทราบว่าการเปลี่ยนแปลงในไข่เยี่ยวม้า เกิดจากสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่างแก่ จึงมีการปรับเปลี่ยนวัสดุและสารเคมีที่ใช้ - วิธีการทำ - วิธีการเคลือบ ดังต่อไปนี้
-
เลิกใช้ดินเหนียว และเลิกใช้วิธีการเคลือบไข่ด้วยโคลนผสม เปลี่ยนเป็น ใช้วิธีการแช่ไข่ในสารละลายด่าง
-
เลิกใช้ขี้เถ้าไม้ เปลี่ยนเป็นใช้โซดาแอช (Soda Ash ; Sodium carbonate) ผสมกับปูนขาว
-
เลิกใช้ทั้งขี้เถ้าไม้และปูนขาว เปลี่ยนเป็น ใช้โซดาไฟ (Caustic Soda ; Sodium hydroxide)
-
เลิกใช้วิธีการพอกด้วยแกลบ เปลี่ยนเป็น วิธีการเคลือบไข่ที่ผ่านการแช่ในด่าง ด้วย Polyvinyl alcohol / Shellac / Lacquer / Paraffin Wax / แป้ง ฯลฯ หรือหุ้มห่อด้วยกระดาษมัน / ฟิล์มห่ออาหาร มีทางเลือกที่จะใช้ / ไม่ใช้ (น้ำชา / ซิงค์ออกไซด์)
หมายเหตุ
|
Sodium hydroxide
|
เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมประมง
|
|