“คอร์บอนเตตระคลอไรด์” บางที่เรียกสั้น ๆ ว่า “คาร์บอนเตต” ชื่ออื่นก็มีแต่ไม่นิยมเรียกเช่น เตตระคลอโรมีเทน หรือ มีเทนเตตระคลอไรด์ เป็นต้น สารตัวนี้เป็นตัวการตัวหนึ่งที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศซึ่งมีผลทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต ผ่านมายังโลกเป็นอันตรายต่อผิวหนัง และตาของคนทั่วไปอีกด้วย ความเป็นห่วงในผลระยะยาว ซึ่งไปเกี่ยวกับการทำให้อุณหะภูมิของโลกร้อนขึ้นด้วยองค์การระหว่างประเทศจึงได้ร่วมกันให้สัตยาบรรณที่จะลดการผลิตและการใช้สารตัวนี้ ดังนั้นในขณะที่สารตัวนี้ยังไม่หายไปจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นในการผลิตยาและใช้เป็นน้ำยาซักแห้งหรือน้ำยาล้างเครื่องเรือน ข้อควรระวังก็คืออย่าสูดไอระเหยหรือสัมผัสผิวหนังนาน ๆ จะทำให้ผิวหนังอักเสบ เพราะคาร์บอนเตตระคลอไรด์จะละลายไขมันตามธรรมชาติบนผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย เมื่อซึมเข้าสู่ผิวหนังหรือสูดดมเข้าไปในร่างกาย จะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ทำลายประสาท ในระยะยาวเป็นอันตรายต่อตับและไต
สารตัวนี้เป็นของเหลวไหลได้เหมือนน้ำแต่หนักกว่าน้ำ หมายความว่าถ้าเติมคาร์บอนเตตระคลอไรด์ลงไปในหลอดแก้วที่มีน้ำอยู่ มันจะลงไปแยกชั้นอยู่ที่ก้นแก้ว สารตัวนี้เมื่อถูกความร้อนสลายตัวจะทำให้เกิดก๊าซฟอสจีนซึ่งเป็นก๊าซพิษเคยใช้ในสงคราม มีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นจากช่างเป่าแก้วที่มักใช้คาร์บอนเตตระคลอไรด์ ทำความสะอาดหลอดแก้วก่อนเป่า เพราะมันสามารถละลายคราบไขมันได้ดีทำให้แก้วสะอาด แต่เมื่อถูกความร้อนสลายตัวช่างเป่าแก้วก็เลยสูดเอาฟอสจีนเข้าไปเต็มที่
อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการคือช่างฟิตขโมยน้ำยามาเพื่อทำความสะอาดใต้ท้องรถ เนื่องจากใต้ท้องรถอากาศน้อย และมีไอระเหยของสารตัวนี้เข้มข้น ช่างฟิตคนนั้นจึงสลบอยู่ใต้ท้องรถนั่นเอง
ดังนั้นหากมีการใช้สารตัวนี้ต้องระวัง ควรใช้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี อย่าให้ถูกความร้อน หลีกเลี่ยงการสัมผัส ถ้าหยุดหายใจต้องรีบทำให้หายใจโดยด่วน เช่นผายปอดแบบปากต่อปากเป่าลมเข้าปอด หรือใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ แล้วนำส่งแพทย์ทันที...
หมายเหตุ
|
Carbon tetrachloride
|
เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
|
|
เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิชาการเกษตร
|
|