สนับสนุนโดย    
สนับสนุนโดย    
   
สนับสนุนโดย    
พิษภัยใกล้ตัว

เมทิล พาราไทออน สารใกล้ตัวชาวนา-ชาวไร่

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 20 ก.ค. 2549
เมทิล พาราไทออน มีชื่ออีกอย่างหนึ่งคือ เมทาฟอส หรืออาจมีชื่อทางการค้าอีกหลายชื่อ ที่คุ้นๆคงจะเป็น โฟลิดอน-เอ็ม หรือ เบลแดน-เอ็ม

ชาวนาจะรู้จักโฟลิดอน 605 ซึ่งใช้คลุกกับข้าวสุกหว่านในนาข้าวหลังปักดำ เพื่อฆ่าปูนาที่มากัดกินต้นกล้า ขณะที่ชาวไร่ถั่วเหลืองใช้พ่นกำจัดหนอนม้วนใบและหนอนกระทู้ สำหรับถั่วลิสง เขาจะพ่นตอนที่ถั่วเริ่มออกดอก เพื่อกำจัดด้วงน้ำมันและเสี้ยนดิน สารตัวนี้ฆ่าแมลงได้โดยการสัมผัส แมลงที่มีปากดูด จะดูดสารเข้าไปในกระเพาะ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับสารฆ่าแมลงพวกออร์แกนโนฟอสเฟต ซึ่งเข้าไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ชื่อ โคลีนเอสเตอร์เรส ที่ทำให้ระบบประสาทของทั้งคน สัตว์และแมลงทำงานได้อย่างปกติ

พิษของมันเกิดจากการสูดเข้าไป หรือเข้าถึงกระเพาะ และยังซึมเข้าทางผิวหนังได้ด้วย อาการขั้นแรกอาจมีน้ำมูกหรือเลือดกำเดาไหล ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ผิวหนังส่วนที่สัมผัสสารอาจมีเหงื่อออกมาก และเกิดอาการกล้ามเนื้อหดตัว ถ้าเข้าตาจะปวดแสบ น้ำตาไหล มองเห็นไม่ชัด อาการเหล่านี้อาจเกิดภายใน 2-3 นาที หรืออาจไปแสดงออกหลายชั่วโมงหลังจากนั้นก็ได้ นอกจากอาการดังกล่าว ยังมีคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ถ้ามากจะมีผลต่อระบบประสาท ทำให้พูดไม่ชัด กระตุก อ่อนเปลี้ย จนถึงขั้นกล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง และอาจตายได้จากหัวใจหยุดเต้น

โชคดีอยู่บ้างที่สารตัวนี้สลายได้เร็วในน้ำ ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน สลายได้เกือบหมด และจะสลายได้เร็วยิ่งขึ้นเมื่อมีตะกอนดิน หรือเมื่อมีแสงแดด และเมื่ออุณหภูมิสูง จึงมักไม่พบการตกค้างในสิ่งแวดล้อม เมื่อฉีดพ่นบนใบพืช มันจะหมดไปได้ภายใน 1 สัปดาห์ ชาวไร่ชาวนา และคนผสมสารที่เข้มข้นจึงมีความเสี่ยงสูง

อย่างไรก็ดี เมื่อจะใช้ฆ่าแมลงก็ควรระวัง ฉีดพ่นอยู่เหนือลม อย่าให้ถูกผิวหนัง เมื่อเสร็จงานต้องอาบน้ำ และนำเสื้อผ้าไปซักให้สะอาด จึงจะนำมาใช้ใหม่ได้...

หมายเหตุ

เมทิล พาราไทออน

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Methyl parathion
 
  ข้อคิดเห็น
   
ข้อคิดเห็นที่ 1:1

น่าจะมีเนื้อหามากกว่านี้นะ


โดย:  ดุกดิก  [3 เม.ย. 2550 14:54]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :3

ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่กรุณาให้ความรู้กับสังคม.
สำนักโรคเคยทำโครงการแก้ไขปัญหาสารกำจัดศัตรูพืช
แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มากโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐศาสตร์การเกษตร
ซึ่งเกษตรกรจะเข้าใจว่าการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีที่คุ้มค่า
ที่สุด
ตอนนี้ประเทศไทยมีอัตราการป่วยด้วยสารดังกล่าวสูงถึง
15 ต่อแสนคน จังหวัดที่เป็นแชมป์ตอนนี้คือจันทบุรี รอง
ลงมาคือระยอง(แต่ระยองเป็นแชมป์ด้านการเจ็บป่วยด้วยโรค
จากการทำงาน)
หวังว่าอาจารย์คงให้ความรู้อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

โดย:  นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์  [2 พ.ย. 2550 07:51]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 2:4

อยากให้อาจารย์นำข้อมูลมามากกว่านี้อีกสักนิดหนึ่งก็ดีค่ะ และขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้ดีๆ แก่บุคคลทั่วไปเพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

โดย:  ap  [21 ม.ค. 2551 19:23]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 3:5

ขอเรื่องกลไกลการออกฤทธิ์นองพาราไทออน  เมตาบอลิซึม และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในการออกฤทธ์  รวมถึงการกำจัดออกนอกร่างกายด้วยน่ะคับ
ใครรู้รีบบอกด่วนน่ะคับ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

โดย:  นักศึกษาม.นเรศวรคับ  [20 ส.ค. 2551 13:22]
 
   
ข้อคิดเห็นที่ 4:7

ขอเรื่องกลไกลการออกฤทธิ์นองพาราไทออน  เมตาบอลิซึม และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในการออกฤทธ์  รวมถึงการกำจัดออกนอกร่างกายด้วยน่ะคับ
ใครรู้รีบบอกด่วนน่ะคับ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

โดย:  apple  [11 ธ.ค. 2551 17:42]
 
   

ขอเชิญร่วมแสดงข้อคิดเห็น